ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดสีไพลใหญ่"
ล (ล็อก "นกปรอดสีไพลใหญ่" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะ...) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | '''วงศ์''' : | + | '''วงศ์''' : Pycnonotidae<br> |
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus plumosus'' (Blyth), 1845.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus plumosus'' (Blyth), 1845.<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Olive-winged | + | '''ชื่อสามัญ''' : Olive-winged bulbul<br> |
− | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Larfe | + | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Larfe olive bulbul , Olive-brown bulbul<br><br> |
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pycnonotus plumosus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ plum, =a, -e, -I แปลว่าขน และ –osus เป็นคำลงท้ายแปลว่าเต็มไปด้วย ความหมายคือ “มีขนอ่อนปกคลุมเต็มตัว” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus plumosus plumosus Blyth ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด | มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pycnonotus plumosus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ plum, =a, -e, -I แปลว่าขน และ –osus เป็นคำลงท้ายแปลว่าเต็มไปด้วย ความหมายคือ “มีขนอ่อนปกคลุมเต็มตัว” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus plumosus plumosus Blyth ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:52, 16 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus plumosus (Blyth), 1845.
ชื่อสามัญ : Olive-winged bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Larfe olive bulbul , Olive-brown bulbul
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus plumosus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ plum, =a, -e, -I แปลว่าขน และ –osus เป็นคำลงท้ายแปลว่าเต็มไปด้วย ความหมายคือ “มีขนอ่อนปกคลุมเต็มตัว” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus plumosus plumosus Blyth ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) ลักษณะแทบไม่แตกต่างจากนกปรอดสวน แต่สีเข้มกว่าเล็กน้อย ตาสีแดง บริเวณหูมีลายขีดสีขาว ขนปีกสีเขียวแกมเหลือง ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแกมเหลือง ตัวไม่เต็มวัยตาสีน้ำตาล
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่ารุ่นในระดับต่ำ ป่าละเมาะ ชายทะเล และเกาะต่าง ๆ มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินตามยอดไม้หรือไม้พุ่มที่ค่อนข้างโล่ง ไม่ค่อยเข้าไปในพุ่มไม้ที่รกทึบ อาหารได้แก่ ผลไม้ ตัวหนอน และแมลง พฤติกรรมการกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดทั่วไป
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน รังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ใบไม้ และใบหญ้า ทำรังตามพุ่มไม้เตี้ยหรือต้นวัชพืชสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3 เมตร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง
ไข่ : มีลักษณะคล้ายนกปรอดหน้านวล แต่สีคล้ำกว่า จุดสีแดงใหญ่กว่า มีลายแถบเล็ก ๆ สีเทาอมฟ้ากระจาย ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 17.8x22.4 มม. ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง