ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเป็ดผีเล็ก"
ล (ล็อก "นกเป็ดผีเล็ก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้...) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | '''วงศ์''' : | + | '''วงศ์''' : Podicipedidae <br> |
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Tachybaptus ruficollis'' (Pallas) 1764.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Tachybaptus ruficollis'' (Pallas) 1764.<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Little | + | '''ชื่อสามัญ''' : Little grebe<br> |
− | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกเป็ดผี,Dabchick<br><br> | + | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกเป็ดผี , Dabchick<br><br> |
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Tachybaptus ruficollis'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ruf, -esc, -I หรือ rufus แปลว่าสีแดงหรือสีออกแดง และ coll, -I หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่บริเวณคอมีสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยมี 1 ชนิดย่อยคือ Tachybaptus ruficollis poggei (Reichenow) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เมือง Chihli ประเทศจีน | มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Tachybaptus ruficollis'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ruf, -esc, -I หรือ rufus แปลว่าสีแดงหรือสีออกแดง และ coll, -I หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่บริเวณคอมีสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยมี 1 ชนิดย่อยคือ Tachybaptus ruficollis poggei (Reichenow) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เมือง Chihli ประเทศจีน |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:54, 16 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Podicipedidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tachybaptus ruficollis (Pallas) 1764.
ชื่อสามัญ : Little grebe
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกเป็ดผี , Dabchick
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tachybaptus ruficollis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ruf, -esc, -I หรือ rufus แปลว่าสีแดงหรือสีออกแดง และ coll, -I หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่บริเวณคอมีสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยมี 1 ชนิดย่อยคือ Tachybaptus ruficollis poggei (Reichenow) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เมือง Chihli ประเทศจีน
กระจายพันธุ์ : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย ไต้หวัน เกาะไหหลำ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาะนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน รูปร่างทั่วไปคล้ายเป็ด แต่มีขนาดเล็กกว่า ปากเล็กและแหลมไม่แบนเหมือนอย่างเป็ดทั่วไป ปีกสั้นและกลม หางสั้นมากหรือไม่เจริญ ขนตามลำตัวละเอียดอ่อน ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าและค่อนข้างจะออกเป็นสีขาว เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวบริเวณปลายปีกชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์บริเวณอกและคอสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเทา มุมปากสีเหลือง
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น หนอง คลอง บึง บาง ลำราง ทะเลสาบ เป็นต้น อาจพบได้บริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณที่น้ำเค็มหนุนถึง ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยอยู่เป็นฝูงที่ไม่ค่อยใหญ่นัก แต่บางฝูงอาจมีนกมากถึง 100 ตัว ในฤดูผสมพันธุ์อยู่เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัวประมาณ 5 – 7 ตัว ว่ายและดำน้ำได้ดีมาก เวลาตกใจหรือจวนตัวจะดำน้ำได้นายกว่า 3 นาที แล้วไปโผล่ไกลจากที่เดิม 15 – 20 เมตร แต่ปกติจะบินหนีเรี่ยไปกับผิวน้ำ หรือ สูงกว่าผิวน้ำไม่เกิน 3 เมตร และไปไกลเป็นระยะทางไม่เกิน 50 เมตร บางครั้งพบบินในระดับสูงพอประมาณโดยเฉพาะเมื่อบินหลงฝูง หรือเมื่อบินอพยพไปยังแหล่งน้ำอื่น ไม่เคยพบที่เกาะตามกิ่งไม้ นอกจากยืนอยู่บนบกเป็นบางครั้งเท่านั้น จากการวิเคราะห์อาหารในการะเพาะพบว่า อาหารส่วนใหญ่ได้แก่แมลง คิดเป็นร้อยละ 40 – 70 ของปริมาณอาหาราทั้งหมด ในจำนวนนี้พบแมลงปอเข็มมากที่สุด ประมาณร้อยละ 35 ด้วงปีกแข็งที่กินใบพืชน้ำซึ่งเป็นแมลงในวงศ์ Donaciidae พบรองลงมาประมาณร้อยละ 30 และแมลงอื่นประมาณร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังกินกุ้ง ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาด 10 – 15 มม. ประมาณร้อยละ 30 – 60 (พรทิพย์และบุบผา, 2525) และกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด สัตว์น้ำอื่น เป็นต้น บางครั้งกินพืชจำพวกสาหร่ายด้วยมีกิจกรรมในเวลากลางวัน โดยพบหากินตามบริเวณพื้นน้ำ บริเวณพืชลอยน้ำ บริเวณพืชโผล่พ้นน้ำ และป่าหญ้าซึ่งเป็นบริเวณขอบของแหล่งน้ำ
การผสมพันธุ์ : นกเป็ดผีเล็กผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่อาจผันแปรไปบ้างตามปริมาณน้ำฝน โดยจะผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงที่มีฝนตกมากที่สุดของปี ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง ทำรังบริเวณพืชลอยน้ำ พืชที่ขึ้นในน้ำ หรือพืชที่ขึ้นตามขอบแหล่งน้ำ รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยใช่ลำต้นและใบของพืชน้ำจำพวกสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว จอกหูหนู ดีปลีน้ำ และผักตบชวามาวางซ้อนกันจนแน่นทำด้านบนให้เป็นแอ่งคล้ายจานไว้รองรับไข่ รังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอกประมาณ 30 – 35 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบในประมาณ 9 – 12 ซม. ลึกประมาณ 2 - 4 ซม. และอยู่สูงกว่าระดับน้ำ 10 - 15 ซม. รังที่ทำตามพืชลอยน้ำมักยึดติดกับพืชหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในน้ำเพื่อไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำและกระแสลม
ไข่ : สีขาว บางครั้งมีสีน้ำตาลเคลือบผิว ซึ่งเป็นผลมาจากพืชที่ปกคลุมไข่ มีขนาดเฉลี่ย 25.51 X 35.60 มม. รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง โดยจะวางไข่วันละ 1 ฟองจนครบรัง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกในขณะที่ตัวหนึ่งฟักไข่ อีกตัวหนึ่งจะไปหาอาหารและหาวัสดุมาเสริมรังให้แข็งแรงอยู่เสมอ และยังคอยระวังภัยให้ตัวที่ฟักไข่ด้วย ถ้ามีสิ่งรบกวนหรือมีศัตรูเข้ามาใกล้ ตัวที่อยู่นอกรังจะส่งเสียงร้องเตือนตัวที่กำลังฟักไข่หลักจากที่ได้ยินเสียงเตือนแล้ว ตัวที่กำลังฟักไข่จะรับคาบวัสดุที่อยู่ใกล้กับรังมาปิดทับไข่ไว้ แล้วจะออกจากรังดำน้ำหนีไป เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยจังกลับมาเอาวัสดุที่ปิดไข่ออกแล้วฟักไข่ต่อ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 19 – 24 วัน โดยเฉลี่ยใช้เวลา 21 วัน
ลูกนก : ลูกนกแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 7.2 กรัม ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 7.5 ซม. ปากสีแดง ขาดำ มีขนอุยสีดำปกคลุมลำตัวโดยมีแถบสีน้ำตาลแดงสลับขาวคาดจากกระหม่อมถึงท้ายทอย 4 แถบ ลูกนกจะเจาะเปลือกไข่ออกมาเองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ หลังจากลูกนกออกจากไข่แล้วพ่อแม่จะช่วยกันคาบเปลือกไข่ไปทิ้งให้ไกลจากรัง เมื่อลูกนกออกจากไข่ได้ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงจะเข็งแรงพอที่จะว่ายน้ำเองได้ หรือเกาะหลังพ่อแม่ออกไปหากินได้ลูกนกจะติดตามพ่อแม่หาอาหารเป็นเวลา 3 – 4 เดือน แล้วจึงไปรวมกับนกครอบครัวอื่นเป็นฝูงใหญ่ อายุ 1 ปีจังโตพอจะผสมพันธุ์ได้
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค แต่จะพบมากทางภาคกลางและภาคใต้ เพราะมีแหล่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินมาก
กฎหมาย : จัดนกเป็ดผีเล็กเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง