ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกยางกรอกพันธุ์จีน"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกยางกรอกพันธุ์จีน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉ...)
แถว 1: แถว 1:
  
'''วงศ์''' : Ardeola Boie <br>
+
'''วงศ์''' : Ardeidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardeola bacchus'' (Bonaparte) 1855.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardeola bacchus'' (Bonaparte) 1855.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Chinese Pond Heron<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Chinese pond heron<br>
 
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br>
 
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br>
  

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:56, 16 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Ardeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardeola bacchus (Bonaparte) 1855.
ชื่อสามัญ : Chinese pond heron
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardeola bacchus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ Bacchus เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น ความหมายคือ “นกที่บริเวณคอและอกมีสีแดงคล้ายกับเหล้าองุ่นแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่บังกลาเทศ หมู่เกาะอันดามัน จีน ไทย อินโดจีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ ฮ่องกง มาเลเซีย และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง (46 ซม.) ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์มีลักษณะเหมือนกับนกยางกรอกพันธุ์ชวาและนกยางกรอกพันธุ์อินเดียจนไม่สามารถแยกออก แต่ในฤดูผสมพันธุ์นกยางกรอกพันธุ์จีนบริเวณหัวและคอเป็นสีน้ำตาลแก่ หลังสีดำแกมเทาอกสีแดงเลือดนกปนน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งนา หนองน้ำ ชายน้ำ และป่าชายเลน ส่วนใหญ่พบอยู่เป็นฝูง มันชอบเกาะกิ่งไม้แห้งหรือกอไผ่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่อพักผ่อน ตากแดด ไซ้ขน และนอกหลับในเวลากลางคืนเวลายืนพักผ่อนจะหดคอทำให้ดูคล้ายกับมันมีคอสั้นซึ่งที่จริงแล้วมันมีคอยาวปานกลาง เวลาบินขึ้นมักร้อง “กรอก-กรอก” อาหารได้แก่สัตว์น้ำและแมลง มันมักเดินลุยน้ำหาเหยื่อ บางครั้งก็เดินตามวัวควายเพื่อกินแมลงที่บินขึ้นหลังจากที่พวกมันเหยียบย่ำทุ่งหญ้า บ่อยครั้งพบมันเกาะตามพืชลอยน้ำในบึง ทะเลสาบ และแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อจ้องหาเหยื่อที่หลบอยู่ใต้พืชลอยน้ำหรือที่ว่ายเข้ามาใกล้

การผสมพันธุ์ : ไม่เคยมีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย มีแต่การปรากฏขนในช่วงฤดูผสมพันธุ์ Homes and Well (1975) รายงานว่า พบนกยางกรอกพันธุ์จีนจำนวน 3 ตัวในทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2517 มีสีสันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จึงเป็นไปได้ที่นกชนิดนี้บางตัวทำรังวางไข่ในประเทศไทย แต่จากการที่ Deignan (1945) ได้ผ่าตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ของนกที่จัดได้เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2472 พบว่า อัณฑะของเพศผู้ ทั้งหมดยังไม่เจริญ รังไข่ของเพศเมียเริ่มขยายใหญ่ซึ่งเท่ากับเริ่มเข้าสู่ฤดูการผสมพันธุ์ แต่เขากลับไม่พบนกเหล่านี้ในฤดูน้ำมากหรือฤดูผสมพันธุ์ซึ่งเริ่มต้นในเดือนสิงหาคมเลย จึงเข้าใจว่ามันน่าจะอพยพไปยังตอนเหนือเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ อย่างไรก็ตามหากมีนกบางตัวทำรังวางไข่ในประเทศ ลักษณะรังขนาดของไข่ จำนวนไข่ต่อรังระยะเวลาฟักไข่ สภาพลูกนก การเลี้ยงดูลูกอ่อน และชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่น ๆ คงไม่แตกต่างไปจากนกยางกรอกพันธุ์ชวา

สถานภาพ : เป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดนกยางกรอกพันธุ์จีนไว้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง