ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกยางเปีย"
ล (ล็อก "นกยางเปีย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแ...) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | '''วงศ์''' : | + | '''วงศ์''' : Ardeidae <br> |
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Egretta garzetta'' (Linnaeus) 1758.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Egretta garzetta'' (Linnaeus) 1758.<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Little | + | '''ชื่อสามัญ''' : Little egret<br> |
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br> | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br> | ||
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:59, 16 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Ardeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Egretta garzetta (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ : Little egret
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Egretta garzetta ชื่อชนิดมาจากภาษาอิตาเลียนคือ garzetta หรือ sgarzetta ซึ่งเป็นชื่อของนกยางสีขาวชนิดหนึ่ง พบครั้งแรกที่ประเทศอิตาลี ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Egretta garzetta garzetta (Linnaeus) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด
กระจายพันธุ์ : โลก ในทวีปเอเชียพบในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง (50 – 60 ซม.) ปากยาวตรง มีสีดำ สันขากรรไกรบนขาวประมาณ 8.5 ซม. บริเวณมุมปากมีขนเล็กน้อย ขนนี้อาจยาวถึงกลางปาก คอยาว ลำตัวสีขาว ปีกยาว ปลายปีกมน ขายาว แข้งสีดำ ปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วสีเหลือง ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ช่วงฤดูผสมพันธุ์บริเวณท้ายทอยมีขนสีขาว 2 เส้น ยาวประมาณ 10 ซม. ลักษณะคล้ายผมเปียของคน จึงได้ชื่อว่า “นกยางเปีย” นอกจากนี้อกและตะโพกยังมีขนลักษณะแตกเป็นฝอยละเอียด ซึ่งเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้วขนเหล่านี้จะหลุดร่วงไป
อุปนิสัยและอาหาร : มีกิจกรรมในเวลากลางวันอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ชายเลน และนาเกลือ บางครั้งพบมันเดินตามสัตว์เลี้ยงพวกวัวควาย เช่น เดียวกับนกยางควาย สามารถเกาะกิ่งไม้ได้และบินได้ดี แต่ค่อนข้างช้า ขณะบินขาเหยียดตรงไปข้างหลังคองอพับเป็นรูปตัวเอส มักหากินรวมกันเป็นกลุ่มหรือ ฝูงและอาจอยู่รวมกับนกหลายชนิด แต่บางครั้งก็หากินโดดเดี่ยว สุวรรณ (2526) รายงานผลการเก็บเศษอาหารที่ตกหล่นอยู่ใต้รังพบว่า อาหารส่วนใหญ่คือปลา ปลาที่ถูกจับกินมากที่สุดคือปลาในอันดับปลาช่อน เช่น ปลากระดี่หม้อ ปลาหมอไทย ปลาช่อน ปลากระสง คิดเป็นประมาณร้อยละ 45.23 ของอาหารทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ปลาในอันดับปลาตะเพียน เช่น ปลาซิวปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ประมาณร้อยละ 33.45 และอันดับปลาหมอช้างเหยียบปละปลาแป้นน้ำจืดประมาณร้อยละ 2.88 นอกจากนี้มันยังกินสัตว์น้ำอื่นและแมลงอีกเล็กน้อย เช่น กบบัว กบนา เขียดจะนา กุ้งฝอยน้ำจืด แมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม ตั๊กแตนหนวดสั้น แมงมุม เป็นต้น มันมีวิธีหาอาหารหลายวิธีคือยืนในน้ำที่ลึกไม่เกินแข้ง ใช้ตาสอดส่ายหาเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อก็จะใช้ปากงับอย่างรวดเร็ว หรือมันใช้ขาข้างหนึ่งพุ้ยน้ำหรือเศษใบพืชที่จมอยู่ในน้ำ เมื่อเหยื่อตกใจออกจากที่ซ่อนจะใช้ปากงับเหยื่ออย่างรวดเร็ว หรืออาจใช้วิธีเดินตามหรือเกาะบนหลังวัวควาย เมื่อแมลงบินขึ้นหลังจากที่วัวควายเหยียบย่ำพื้นดินหรือหญ้า มันจะใช้ปากจิกกิน
การผสมพันธุ์ : นกยางเปียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนแต่มีส่วนน้อยที่ผสมพันธุ์ในฤดูหนาวระหว่าเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนสร้างรังและวางไข่มันจะเกี้ยวพาราสีกัน โดยตัวผู้บินเข้าไปใกล้ตัวเมียและส่งเสียงร้อง ยื่นปากไปข้างหน้าและโบกไปมา สะบัดขนประดับที่ท้ายทอย อก และตะโพกให้พลิ้วลม ถ้าตัวเมียไม่สนใจ มันจะบินไปเกาะที่อื่น แต่ถ้าตัวเมียนิ่งเฉย ตัวผู้จะไปคาบกิ่งไม้ยื่นให้ตัวเมีย และใช้ตำแหน่งที่ตัวเมียเกาะอยู่เป็นตำแหน่งสร้างรัง นกตัวผู้จะหาวัสดุมาส่งให้ตัวเมียและช่วยสร้างรังจนเป็นรูปร่าง แล้วจึงผสมพันธุ์กัน นกยางเปียสร้างรังบนกิ่งของต้นไม้หลายชนิดส่วนใหญ่เป็นกอไผ่และต้นไม้ที่มีกิ่งมาก มันมักทำรังเป็นกลุ่มและอาจอยู่รวมกับนกอีกหลายชนิด เช่น นกแขวก นกกาน้ำเล็ก นกยางควาย เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ เพียงใช้กิ่งไม้และกิ่งไผ่วางซ้อนกัน แล้วทำแอ่งเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 35 – 40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบใน 15 – 25 ซม. แอ่งลึก 5 – 10 ซม. และอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 2 – 20 เมตร ขนาดของรังอาจใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพาะนกทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุมาเสริมรังให้แข็งแรงเสมอเมื่อวัสดุเก่าผุพังลง หรือเมื่อต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนไข่
ไข่ : เป็นรูปยาวรี สีเขียวอมฟ้า ผิวอาจเรียบเป็นมันบางฟองอาจมีผงสีขาวคล้อยผงชอล์กปกคลุมบางส่วนมีขนาดเฉลี่ย 31.61x43.39 มม. หนัก 22.64 กรัมรังมีไข่ 2 – 5 ฟอง พบ 4 ฟองบ่อยที่สุด รองลงมาได้แก่ 3 และ 5 ฟองตามลำดับ มันจะออกไข่แต่ละฟองห่างกัน 37 – 48 ชั่วโมง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 25 – 27 วัน ลูกนกจะออกจากไข่เองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ ฟันเจาะเปลือกไข่จะหลุดร่วงไปเมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 – 4 สัปดาห์ ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา หัวโต อุ้ยอ้าย ลูกตาโปน ขายังไม่แข็งแรง มีขนอุยสีขาวปนเทาปกคลุมลำตัวบางส่วน โดยเฉพาะลำตัวด้านบน และยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยดูแล ป้องกันอันตรายและหาอาหารมาป้อน พ่อแม่ต้องคอยดูแล ป้องกันอันตรายและหาอาหารมาป้อน พ่อแม่จะป้อนอาหารลูกนกโดยสำรอกอาหารที่ย่อยบางส่วนใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอยู่เหมือนกับจะงับปากพ่อแม่ เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกินเอง เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีขนสีขาวปกคลุมลำตัวเหมือนกับตัวเต็มวัย และเริ่มหัดบิน เมื่อบินได้แข็งแรงแล้วจะแยกออกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น และมีบางส่วนเป็นนกอพยพมาในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ช่วงนี้ปริมาณนกจึงมีเพิ่มขึ้น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค
กฎหมาย : จัดนกยางเปียเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง