ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเอี้ยงหงอน"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกเอี้ยงหงอน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้...)
แถว 1: แถว 1:
'''วงศ์''' : Acridotheres Vieillot <br>
+
'''วงศ์''' : Sturnidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Acridotheres cinereus'' (Bonaparte), 1851<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Acridotheres cinereus'' (Bonaparte), 1851<br>
'''ชื่อสามัญ''' : White-vented Myna<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : White-vented myna<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกเอี้ยงดำ,Crested Myna<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกเอี้ยงดำ , Crested myna<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Acridotheres cinereus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner,-ar,-e,-I หรือ cinis แปลว่าสีเทา ความหมายคือ “นกที่มีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย Sibley and Moroe (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกเอี้ยงหงอนว่า Acridotheres grandis (Moore) 1858. ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ “นกที่มีขนาดใหญ่” พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร Lekagul and Round (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acridotheres javanicus ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Inskipp et al. (1996) ถือว่าทั้ง 3 ชนิด คือ cinereus,grandis และ javanicus เป็นชนิดเดียวกัน และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ตั้งก่อนคือ cinereus ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประทเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Acridotheres cinereus cinereus ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Acridotheres cinereus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner,-ar,-e,-I หรือ cinis แปลว่าสีเทา ความหมายคือ “นกที่มีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย Sibley and Moroe (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกเอี้ยงหงอนว่า Acridotheres grandis (Moore) 1858. ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ “นกที่มีขนาดใหญ่” พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร Lekagul and Round (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acridotheres javanicus ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Inskipp et al. (1996) ถือว่าทั้ง 3 ชนิด คือ cinereus,grandis และ javanicus เป็นชนิดเดียวกัน และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ตั้งก่อนคือ cinereus ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประทเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Acridotheres cinereus cinereus ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:53, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Sturnidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acridotheres cinereus (Bonaparte), 1851
ชื่อสามัญ : White-vented myna
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกเอี้ยงดำ , Crested myna

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acridotheres cinereus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner,-ar,-e,-I หรือ cinis แปลว่าสีเทา ความหมายคือ “นกที่มีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย Sibley and Moroe (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกเอี้ยงหงอนว่า Acridotheres grandis (Moore) 1858. ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ “นกที่มีขนาดใหญ่” พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร Lekagul and Round (1990) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acridotheres javanicus ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Inskipp et al. (1996) ถือว่าทั้ง 3 ชนิด คือ cinereus,grandis และ javanicus เป็นชนิดเดียวกัน และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ตั้งก่อนคือ cinereus ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประทเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Acridotheres cinereus cinereus ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย และอินโดจีน ในมาเลเซียเป็นนกที่นำเข้าไป

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) สีสันโดยทั่วไปเป็นสีดำ หัวมีพุ่มหงอนขนยาว ขาและนิ้วสีเหลือง มีลายพาดสีขาวบริเวณโคนของขนปลายปีกซึ่งจะเห็นได้ชัดขณะบิน ปลายหางมีแถบขนาดกว้างสีขาว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว ตาสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลแกมส้ม

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ทุ่งโล่งซึ่งใกล้กับแหล่งน้ำ สวนผลไม้ หมู่บ้าน และในเมืองมักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง อาจพบอยู่รวมกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครงอื่น ๆ โดยเฉพาะนกเอี้ยงสาลิกา นกเอี้ยงด่าง และนกกิ้งโครงคอดำ อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกเหล่านี้

การผสมพันธุ์  : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะของรังไม่แตกต่างจากนกเอี้ยงควาย โดยการนำฟางข้าว ใบไม้ ใบหญ้า กิ่งไม้เล็ก ๆ มาวางภายในโพรงไม้ ซึ่งมักเป็นโพรงเก่าของนกและสัตว์อื่น บางครั้งวางวัสดุตามกิ่งไม้คล้ายนกเอี้ยงสาลิกาและนกกิ้งโครงคอดำ แต่ไม่ค่อยพบที่วางรังตามซอกหลังคาบ้านหรือสิ่งก่อสร้างอย่างนกเอี้ยงสาลิกา รังมีไข่ 4-5 ฟอง

ไข่ : สีน้ำเงิน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 20.7x29.2 มม. ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจากนกเอี้ยงสาลิกาและนกกิ้งโครงทั่วไป รวมทั้งการวางไข่มากกว่า 1 รังในแต่ละปี

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค ในอดีตไม่พบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป แต่ขณะนี้มีนกบางส่วนกำลังขยายถิ่นที่อาศัยไปยังภาคใต้เนื่องจากพื้นที่ป่าถูกทำลายลงจนเป็นที่โล่งมากขึ้น

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง