ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระติ๊ดสีอิฐ"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 2: แถว 2:
 
'''วงศ์''' : Estrildinae <br>
 
'''วงศ์''' : Estrildinae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Lonchura Malacca'' (Linnaeus) 1766.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Lonchura Malacca'' (Linnaeus) 1766.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Black-headed Munia<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Black-headed munia<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกปากตะกั่ว , Chestnut Munia<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกปากตะกั่ว , Chestnut munia<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Lonchura Malacca'' ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมือง Malacca ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Lonchura Malacca deignani Parkes ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงราย และ Lonchura Malacca sinensis (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ sinens แปลว่าแห่งประเทศจีน พบครั้งแรกที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย (เป็นเมืองที่คนจีนอาศัยอยู่มาก)
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Lonchura Malacca'' ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมือง Malacca ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Lonchura Malacca deignani Parkes ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงราย และ Lonchura Malacca sinensis (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ sinens แปลว่าแห่งประเทศจีน พบครั้งแรกที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย (เป็นเมืองที่คนจีนอาศัยอยู่มาก)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:01, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Estrildinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonchura Malacca (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ : Black-headed munia
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกปากตะกั่ว , Chestnut munia

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lonchura Malacca ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมือง Malacca ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Lonchura Malacca deignani Parkes ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงราย และ Lonchura Malacca sinensis (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ sinens แปลว่าแห่งประเทศจีน พบครั้งแรกที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย (เป็นเมืองที่คนจีนอาศัยอยู่มาก)

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (11 ซม.) ตัวเต็มวัยลำตัวสีน้ำตาลแดง หัว คอหอย และคอเป็นสีดำ ขนคลุมโคนขนหางด้านบนและขนหางสีเหลืองถึงแดงเข้ม กลางท้องสีดำหรือสีขาว ตัวไม่เต็มวัยสีน้ำตาลแกมสีเนื้อจาง หัวสีเข้ม แต่จะจางกว่าลำตัวด้านบน แตกต่างจากนกกระติ๊ดขี้หมูตัวไม่เต็มวัยโดยปากทั้งหมดเป็นสีน้ำเงิน

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าละเมาะ โดยเฉพาะตามพื้นที่ชุ่มน้ำรวมทั้งชายเลน ในระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกกระติ๊ดขี้หมู

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์เกือบตลอดปีระหว่างเดือนธันวาคมของปีหนึ่งถึงเดือนตุลาคมปีถัดไป ทำรังตามกอกกหรือกอหญ้าที่ขึ้นในน้ำหรือริมแหล่งน้ำ โดยเฉพาะบึง หนอง และทะเลสาบ บางครั้งอาจทำรังตามพุ่มไม้ที่รกทึบ รังเป็นรูปทรงกลมมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง สร้างรังด้วยการสานใบหญ้าและใบกกที่ฉีกเป็นเส้นยาว ๆ อาจรองรังด้วยใบไม้ รังมีไข่ 4-6 ฟอง

ไข่ : สีขาว ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 11.5x16.3 มม. ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น คาดว่าไม่แตกต่างจากนกกระติ๊ดในสกุลเดียวกัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง