ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระสาแดง"
แถว 2: | แถว 2: | ||
'''วงศ์''' : Ardeidae<br> | '''วงศ์''' : Ardeidae<br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea purpurea'' (Linnaeus),1766<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea purpurea'' (Linnaeus),1766<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Purple | + | '''ชื่อสามัญ''' : Purple heron<br> |
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระสาแดง<br><br> | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระสาแดง<br><br> | ||
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:01, 17 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Ardeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardea purpurea (Linnaeus),1766
ชื่อสามัญ : Purple heron
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกระสาแดง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardea purpurea ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ purpur, -a แปลว่าสีแดงเข้ม (รากศัพท์กรีกคือ porphureos ก็แปลว่าสีแดงหรือสีม่วง) ความหมายคือ “นกยางที่มีสีแดงเข้ม” พบครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Ardea purpurea manilensis Meyen ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
กระจายพันธุ์ : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ จีน ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่มาก (97.ซม) ปากเรียวยาว ปลายปากแหลม หัวค่อนข้างเล็ก คอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกมน ขายาวมาก หาสั้น ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยกระหม่อมและท้ายทอยสีดำ มีขนสีดำตั้งแต่กระหม่อมไปถึงท้ายทอยและงอกยาวออกไปเป็นหางเปียสองเส้นคอสีน้ำตาลแดง คอด้านข้างมีลายสีน้ำตาลแดงแซมทั่วไปอกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลเข้มออกดำ ตัวไม่เต็มวัยลำตัวสีน้ำตาลอ่อนออกสีเทา ไม่มีเปีย
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง บาง หนอง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น มีกิจกรรมส่วนใหญ่ในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำแต่บ่อยครั้งก็พบมันหากินในเวลากลางวันด้วย ปกติอยู่โดดเดี่ยว แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง สามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดี บินได้แข็งแรงและในระยาทางไกล ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอสขาเหยียดตรงพันปลายหาง อาหารได้แก่ ปลา กุ้ง ปู กบ และเขียด หาอาหารโดยเดินตามชายน้ำซึ่งระดับน้ำไม่ลึกมากนัก ตาคอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบจะใช้ปากงับแล้วกลืนกินหากเหยื่อมีขนาดใหญ่ อาจใช้ปากแทงตัวเหยื่อแล้วใช้ตีนช่วยดันเหยื่อจากปาก จากนั้นจึงค่อยจิกกิน บางครั้งมันเดินย่องไปตามพื้นหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเพื่อจิกแมลงตัวหนอนและสัตว์อื่น บ่อยครั้งพบมันยืนนิ่งตามพืชลอยน้ำ เช่น ผักตบชวา จอกหูหนู ดีปลีน้ำ เพื่อจ้องจับเหยื่อที่เข้ามาใกล้
การผสมพันธุ์ : นกกระสาแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่บางท้องที่พบว่ามันทำรังเกือบตลอดทั้งปี เช่น ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง มีการทำรังวางไข่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน (ศุภชัย 2523) มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่มตามต้นไม้ขนาดใหญ่และอาจอยู่รวมกับนกอื่น เช่น นกยางควาย นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ ใช้กิ่งไม้ทั้งกิ่งสดและกิ่งแห้งวางซ้อนกันตามง่ามหรือกิ่งของต้นไม้ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำ บางครั้งก็ใช้รังเดิมของนกตัวอื่นที่ทิ้งรังไปแล้วโดยหากิ่งไม้มาเสริมรังให้แข็งแรงขึ้นปกติรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 55 ซม. แอ่งรองรับไข่ลึก 5 – 10 ซม. แต่ละรังอยู่ห่างกัน 2 – 7 เมตร และสูงจากพื้นดินหรือระดับน้ำ 4 – 5 เมตร ทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง
ไข่ : ไข่เป็นรูปรียาว สีเขียวอ่อนไม่มีจุด ขีด หรือลายมีขนาดเฉลี่ย 43.0 X 58.0 มม. รังมีไข่ 3 – 4 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ โดยขณะที่ตัวหนึ่งฟักไข่ อีกตัวหนึ่งจะไปหาอาหาร ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 27 – 29 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวบางส่วน โดยเฉพาะลำตัวด้านบน และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อ แม่ต้องช่วยกันกกลูกนกไว้ใต้ปีกหรือใต้ท้อง และหาอาหารมาป้อนโดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ และแบ่งเฉลี่ยให้เท่ากันทุกตัว เมื่อลูกนกเติบโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารซึ่งบางครั้งเป็นปลาทั้งตัวไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกินเองประมาณ 40 – 50 วันลูกนกจะแข็งแรงและบินได้จากนั้นนะทิ้งรังไป
สถานภาพ : เป็นนกประถิ่น พบไม่บ่อยและประมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค ในปัจจุบันนกกระสาแดงที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นนกที่อพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
กฎหมาย : จัดนกกระสาแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง