ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระเต็นแดง"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 1: แถว 1:
 
'''วงศ์''' :  Halcyonidae<br>
 
'''วงศ์''' :  Halcyonidae<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Halcyon coromanda'' (Latham) 1790.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Halcyon coromanda'' (Latham) 1790.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Ruddy Kingfisher<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Ruddy kingfisher<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระเต็นแดง , Indian Ruddy Kingfisher<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระเต็นแดง , Indian ruddy kingfisher<br><br>
  
 
นกกระเต็นแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Halcyon coromanda'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือชายฝั่งทะเล Coromandel ในประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกระเต็นแดง 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ ''Halcyon coromanda'' (Latham) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาเช่นเดียวกับชื่อชนิด
 
นกกระเต็นแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Halcyon coromanda'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือชายฝั่งทะเล Coromandel ในประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกระเต็นแดง 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ ''Halcyon coromanda'' (Latham) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาเช่นเดียวกับชื่อชนิด

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:03, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Halcyonidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Halcyon coromanda (Latham) 1790.
ชื่อสามัญ : Ruddy kingfisher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกระเต็นแดง , Indian ruddy kingfisher

นกกระเต็นแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halcyon coromanda ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือชายฝั่งทะเล Coromandel ในประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกระเต็นแดง 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Halcyon coromanda (Latham) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันออก ไต้หวัน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซีและฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (24-25 ซม.) ปากสีแดง ลำตัวด้านบน หัว คอ แลช่วงไหล่สีน้ำตาลเหลืองแกมม่วงแดง ตะโพกสีขาว ขณะบินจะเห็นชัดเจน ลำตัวด้านล่างสีเนื้อถึงน้ำตาลอมเหลือง บริเวณคางและคอหอยสีจางกว่าลำตัวด้านล่างเล็กน้อย ขาและนิ้วสีแดงสด ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันเหมือนกัน

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน ป่าบนเกาะในทะเล บางครั้งพบตามริมฝั่งแม่น้ำซึ่งห่างไกลจากทะเล รวมทั้งในป่าทั่วไปและป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเลพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ปกติไม่ค่อยเกาะนิ่ง มักบินไปมาอย่างรวดเร็ว มันมักเกาะตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ จึงไม่ค่อยเห็นตัวนอกจากจะได้ยินเสียงร้อง อาหารได้แก่ ปลา ปู ด้วงปีกแข็ง ตั๊กแตน แมลงและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ มันมีพฤติกรรมการหารอาหารคล้ายคลึงกับนกกระเต็นชนิดอื่น คือเกาะตามกิ่งไม้จ้องหาเหยื่อทั้งในน้ำและบนอากาศ เมื่อพบเหยื่อ มันจะบินโฉบจับด้วยปาก จากนั้นมันจะบินมาเกาะที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง อาจฟาดเหยื่อกับกิ่งไม้ 2-3 ครั้งเพื่อให้เหยื่อตาย แล้วกลืนเหยื่อทั้งตัว

การผสมพันธุ์ : นกกระเต็นแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังโดยขุดดินตามริมฝั่งแม่น้ำหรือเนินดินตามชายหาดปากโพรงกว้างประมาณ 5.0 ซม โพรงลึกประมาณ 45-100 ซม. ด้านในสุดเป็นโพรงกว้างสำหรับวางไข่บางคู่ทำรังตามโพรงต้นไม้ในป่า โพรงอาจเกิดเองตามธรรมชาติหรือเป็นโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้

ไข่ : มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 23.2x27.3 มม. รังมีไข่ 5 ฟอง บางรังพบ 6 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัว พ่อแม่ต้องช่วยกันหาอาหารมาป้อน เมื่อลูกนกแข็งแรงและบินได้ดีแล้ว พวกมันจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง

สถานภาพ : นกกระเต็นแดงที่พบตามป่าชายเลนและป่าบนเกาะในทะเลมักเป็นนกประจำถิ่น นอกจากนั้นอาจเป็นนกอพยพผ่านหรือนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดนกกระเต็นแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง