ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา"
แถว 2: | แถว 2: | ||
'''วงศ์''' : Halcyonidae <br> | '''วงศ์''' : Halcyonidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Halcyon capensis'' (Linnaeus) 1766.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Halcyon capensis'' (Linnaeus) 1766.<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Stork-billed | + | '''ชื่อสามัญ''' : Stork-billed kingfisher<br> |
− | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระเต็นใหญ่ , นกกำกวม , Brown headed | + | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระเต็นใหญ่ , นกกำกวม , Brown headed stork-billed kingfisher<br><br> |
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Halcyon capensis'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบนกชนิดนี้ครั้งแรก คือแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) ในประเทศแอฟริกาใต้ ทั่วโลกมีนกกระเต็นใหญ่ธรรมดา 15 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Halcyon capensis burmanica Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศพม่า และ Halcyon capensis malaccensis Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย (Malacca) | นกกระเต็นใหญ่ธรรมดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Halcyon capensis'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบนกชนิดนี้ครั้งแรก คือแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) ในประเทศแอฟริกาใต้ ทั่วโลกมีนกกระเต็นใหญ่ธรรมดา 15 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Halcyon capensis burmanica Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศพม่า และ Halcyon capensis malaccensis Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย (Malacca) |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:06, 17 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Halcyonidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Halcyon capensis (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ : Stork-billed kingfisher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกระเต็นใหญ่ , นกกำกวม , Brown headed stork-billed kingfisher
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halcyon capensis ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบนกชนิดนี้ครั้งแรก คือแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) ในประเทศแอฟริกาใต้ ทั่วโลกมีนกกระเต็นใหญ่ธรรมดา 15 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Halcyon capensis burmanica Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศพม่า และ Halcyon capensis malaccensis Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย (Malacca)
กระจายพันธุ์ : ในอินเดียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (36-37 ซม.) แต่เป็นนกกระเต็นที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่น มีปากใหญ่สีแดง หัวและท้ายทอยสีเทาเข้ม ลำตัวด้านบนและปีกสีน้ำเงิน คอและลำตัวด้านล่างตั้งแต่คอหอยจนถึงขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาล
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ทุ่งโล่ง แหล่งน้ำ และป่าชายเลน ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักเกาะตามสายไฟฟ้า กิ่งไม้แห้ง และตอไม้ใกล้กับแหล่งน้ำ มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่เป็นฝูง นกกระเต็นใหญ่ธรรมดาเป็นนกที่หวงอาณาเขตมาก หากมีนกซึ่งไม่ใช่คู่ผสมพันธุ์หรือนกชนิดอื่นเข้ามาใกล้ มันจะส่งเสียงร้องและไล่จิกตีทันที นกกระเต็นใหญ่ธรรมดากินปลา ปู กบ เขียด แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก หาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้ ตอไม้ หรือสายไฟฟ้า คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบก็บินโฉบจับด้วยปาก แล้วกลับมาเกาะที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง บางครั้งมันก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หรือจับสัตว์ตามพื้นดิน มันมักฟาดเหยื่อกับกิ่งไม้หรือบริเวณที่เกาะให้เหยื่อตาย จากนั้นจะจัดเหยื่อให้อยู่ในลักษณะที่กลืนกินได้ง่าย แล้วกลืนเหยื่อทั้งตัว หากยังไม่อิ่มมันจะเกาะจ้องหาเหยื่อต่อไป
การผสมพันธุ์ : นกกระเต็นใหญ่ธรรมดาผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง หรือเชิงเขาทั้งสองเพศจะช่วยกันใช้ปากและเล็บขุดดินบริเวณดังกล่าวให้เป็นโพรง โดยทั่วไปปากโพรงกว้างประมาร 10 ซม. โพรางลึกเข้าไปในแนวตั้งฉากกับฝั่งหรือหน้าผาประมาณ 1.0 เมตรหรือมากกว่า บางคู่ทำรังตามโพรงต้นไม้ที่ขึ้นใกล้แหล่งหากิน โพรงไม้อาจเกิดตามธรรมชาติ หรือเป็นโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ เช่น ปลวก มด กระรอก เป็นต้น แต่รังในลักษณะดังกล่าวพบไม่บ่อยนัก รังมักไม่มีวัสดุรอง
ไข่ : มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาวเป็นมัน ไม่มีลาย มีขนาดเฉลี่ย 31.2x36.6 มม. รังมีไข่ 4-5 ฟอง เมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้วทั้งสองเพศจะผลัดกันฟักไข่ปกติมันฟักไข่เฉพาะในเวลากลางคืน แต่ถ้าวันใดอากาศเย็นหรือเป็นช่วงที่ไข่ใกล้ฟักเป็นตัว พวกมันอาจฟักไข่ในเวลากลางวันด้วย ใช้เวลาฟักไข่ 22-23 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา ไม่มีขนปกคลุมลำตัว และขายังไม่แข็งแรงพอจะยืนหรือเดินได้ ในช่วงนี้พ่อแม่จะช่วยกันกกให้ความอบอุ่นโดยให้ลูกนกซุกใต้ปีกหรือใต้ท้อง และช่วยกันหาอาหารมาป้อน อาหารที่มันนำมาป้อนมักเป็นอาหารทั้งตัว ไม่ฉีกเป็นชิ้น ๆ เช่น ปลาทั้งตัว ลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมลำตัวค่อนข้างเร็ว อายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็แข็งแรงและบินได้ หลังจากนั้นไม่นานพวกมันจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : นกกระเต็นใหญ่ธรรมดาเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย burmanica พบได้ทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงคอคอดกระ ส่วนชนิดย่อย malaccensis พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : จัดนกกระเต็นใหญ่ธรรมดาทั้ง 2 ชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง