ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกาน้ำเล็ก"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 2: แถว 2:
 
'''วงศ์''' :  Phalacrocoracidae<br>
 
'''วงศ์''' :  Phalacrocoracidae<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Phalacrocorax niger'' (vieillot) 1817.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Phalacrocorax niger'' (vieillot) 1817.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Little Cormorant<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Little cormorant<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกาน้ำเล็ก , Javanese Cormorant<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกาน้ำเล็ก , Javanese cormorant<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacrocorax niger ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ในภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro แปลว่าสีดำ ความหมายคือ “นกที่มีลักษณะคล้ายอีกามีสีดำ” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย Howard and Moore (1980) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halietor niger ชื่อสกุลมาจากคำในภาษากรีกคือ halieos แปลว่าชาวประมง (hali, -o แปลว่าทะเล และ –etes แปลว่าอาศัยอยู่) ความหมายคือ “นกที่อาศัยหรือหากินในทะเล” ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacrocorax niger ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ในภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro แปลว่าสีดำ ความหมายคือ “นกที่มีลักษณะคล้ายอีกามีสีดำ” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย Howard and Moore (1980) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halietor niger ชื่อสกุลมาจากคำในภาษากรีกคือ halieos แปลว่าชาวประมง (hali, -o แปลว่าทะเล และ –etes แปลว่าอาศัยอยู่) ความหมายคือ “นกที่อาศัยหรือหากินในทะเล” ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:08, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Phalacrocoracidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phalacrocorax niger (vieillot) 1817.
ชื่อสามัญ : Little cormorant
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกาน้ำเล็ก , Javanese cormorant

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacrocorax niger ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ในภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro แปลว่าสีดำ ความหมายคือ “นกที่มีลักษณะคล้ายอีกามีสีดำ” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย Howard and Moore (1980) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halietor niger ชื่อสกุลมาจากคำในภาษากรีกคือ halieos แปลว่าชาวประมง (hali, -o แปลว่าทะเล และ –etes แปลว่าอาศัยอยู่) ความหมายคือ “นกที่อาศัยหรือหากินในทะเล” ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง (50 – 52 ซม.) ปากสีดำ ยาว 3 – 4 ซม. มีถุงใต้คางสีขาว คอยาวปานกลาง ปีกยาวไม่เกิน 23 ซม. ปลายปีกมน หางยาวปานกลาง ปลายหางมน ขาค่อนข้างสั้น ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ขนปกคลุมลำตัวสีดำ ขนคลุมขนปีกสีเทาเข้มถึงดำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ถุงใต้คางจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนขาวขึ้นแซมบริเวณลำตัวด้านบนและด้านข้างของหัว เมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์ไปแล้วขนดังกล่าวจะหลุดร่วงไป ตัวไม่เต็มวัยขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาลเข้า ขนคลุมขนปีกสีเทาถุงใต้คางสีขาว ปากสีเหลืองปนเทา

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่เป็นกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หรือหลังฤดูผสมพันธุ์เล็กน้อย อาจอยู่รวมกับนกชนิดอื่น เช่น นกกาน้ำ ปากยาว นกอ้ายงั่ว นกยางเปีย นกแขวก เป็นต้น นกกาน้ำเล็กชอบเกาะกิ่งไม้ ซึ่งปกติมักเป็นกิ่งไม้แห้ง มันจุเกาะเป็นเวลานานเพื่อผึ่งแดดและไซ้ขน หรืออาจเกาะนอนหลับ ขณะเกาะ มันมักสั่นถุงใต้คางตลอดเวลา เวลาบินออกหากินหรือกลับรัง จะบินเป็นฝูงรูปหัวลูกศร รูปแถวหน้ากระดาน หรือรูปแถวตอน นกกาน้ำเล็กมีกิจกรรมในเวลากลางวัน ว่ายน้ำและเกาะกิ่งไม้ได้ดีแต่เวลาเดินบนพื้นดินมักงุ่มง่าม นกกาน้ำเล็กกินปลาเป็นส่วนใหญ่ อุ่นเรือน (2524) รายงานว่า มันกินปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้าปลาที่มักถูกจับกินเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาหมอไทย ปลากระดี่หม้อ ปลากริม ปลาช่อน ปลาหมอช้างเหยียบ และปลาตะเพียนทรายนอกจากนี้มันยังกินสัตว์ เช่น กบ เขียด กุ้ง แมลง และ กินพืชน้ำบางชนิด โดยเฉพาะพวกสาหร่าย แต่ในปริมาณที่น้อยมาก หาอาหารโดยว่ายน้ำหรือดำน้ำแล้วจับปลาด้วยปาก เมื่อได้ปลาแล้วมันจะขึ้นมาเหนือน้ำจัดตัวปลาให้อยู่ในลักษณะที่จะกลืนกินได้ง่าย จากนั้นจะกลืนปลาทั้งตัว แล้วว่ายหรือดำน้ำหาปลาต่อไปอีกเมื่ออิ่ม มันจะขึ้นมาเกาะตอหรือกิ่งไม้ตามชายน้ำผึ่งแดดและไซ้ขน มันหาอาหารตามลำพัง เป็นคู่ หรือเป็นฝูง

การผสมพันธุ์ : นกกาน้ำเล็กผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ทำรังรวมกันเป็นกลุ่มตามต้นไม้ รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างขึ้นอย่างหยาบ ๆ โดยใช้กิ่งไม้ กิ่งไผ่เรียงซ้อนกันให้มีลักษณะคล้ายถ้วย แล้วใช้ใบไม้หรือหญ้าสดมาวางไว้บริเวณแอ่งกลางรังเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 25 – 30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางของใน 10 – 15 ซม. ลึก 4 – 7 ซม. รังอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมันจะคอยเสริมสร้างรังเรื่อย ๆ เมื่อวัสดุเก่าผุพังลงหรือเมื่อต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนไข่ วีรยุทธและอุ่นเรือน (2524) รายงานพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของนกกาน้ำเล็กว่า ตัวผู้บินเข้ามาหาตัวเมียซึ่งเกาะอยู่ในตำแหน่งที่จะสร้างรัง ตัวเมียจะตอบรับโดยกางปีกทั้งสองข้างออกเล็กน้อยและห้อยลงข้างลำตัว ขนหาแผ่กว้างและยกตั้งขึ้น คอยืดและตั้งตรง แล้วผงกหัวขึ้นลง พร้อมกับร้องดัง “อู้” ตัวผู้จะใช้ปากไซ้ขนให้ตัวเมีย ตัวเมียจะไซ้ขนตัวผู้ตอบ จากนั้นตัวผู้จะบินออกไปชั่วครู่ แล้วบินกลับมาเกาะข้างตัวเมียอีก บางครั้งมันก็เกาะทับตัวเมีย จากนั้นจะผสมพันธุ์กัน มันมีพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเวลานานและผสมพันธุ์กันหลายครั้ง หลักจากนั้นตัวผู้จะบินออกไปหาวัสดุทำรัง ส่วนตัวเมียจะเกาะในตำแหน่งที่จะสร้างรังคล้ายการจับจองสถานที่ไม่ให้นกตัวอื่นมาแย่ง เมื่อตัวผู้นำวัสดุกลับมา ทั้งสองเพศจะช่วยกันสร้างรังแล้วตัวเมียจะเริ่มวางไข่

ไข่ : มีรูปร่างรียาว สีเขียวอมฟ้าจางจนเกือบเป็นสีขาวและส่วนมากมีผงขาวคล้ายผงชอล์กปกคลุม มีขนาดเฉลี่ย 29.1x 44.4 มม. หนัก 19.5 กรัม รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง ส่วนใหญ่มี 4 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 22 – 26 วัน ลูกอ่อนจะใช้ฟันเจาะเปลือกไข่เจาะออกจากไข่เองลูกนกแรกเกิดไม่มีขนปกคลุมลำตัว ยังไม่ลืมตา ขายังไม่แข็งแรง ผิวหนังบริเวณลำตัวด้านบน อายุ 2 สัปดาห์จะเริ่มมีขนอุยขึ้นตามลำตัวด้านบน อายุ 5 สัปดาห์จะมีขนอุยขึ้นที่หัว มีขนแข็งปกคลุมลำตัว และจะหัดบินในระยะใกล้ ๆ ในช่วงที่ลูกนกยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่จะช่วยกันหาอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลามาป้อนโดยสำรอกอาหารที่ย่อยบ้างแล้วมาไว้ที่คอหอยหรือโคนปากแล้วอ้าปากให้ลูกนกจิกอาหารกินโดยสอดปากหรือบางครั้งก็มุดหัวเข้าไปในปากพ่อแม่ เมื่อลูกนกเจริญเติบโตจนสามารถยืนหรือเดินได้แล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรัง บางครั้งเป็นปลาทั้งตัว ลูกนกจะต้องจิกกินเอง ลูกนกอายุ 1 ปีจะเป็นตัวเต็มวัย สามารถผสมพันธุ์ได้

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น แต่อาจอพยพภายในประเทศ พบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาคแต่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกจะพบน้อย

กฎหมาย : จัดนกกาน้ำเล็กเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง