ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินปลีอกเหลือง"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 2: แถว 2:
 
'''วงศ์''' : Nectariniidae <br>
 
'''วงศ์''' : Nectariniidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Nectariaia jugularis'' (Linnaeus) 1766.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Nectariaia jugularis'' (Linnaeus) 1766.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Olive-backed Sunbird<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Olive-backed sunbird<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Yellow-breasted Sunbird , Yellow-bellied Sunbird<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Yellow-breasted sunbird , Yellow-bellied sunbird<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Nectarinia jugularis'' ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินสมัยกลางคือ jugularis (jugul, =um หรือ jugulum) แปลว่าคอหอย  ความหมายคือ "นกที่คอหอยมีสีเด่น" พบครั้งแรกที่ประทศฟิลิปปินส์  ทั่วโลกมี 25 ชนิดย่อย  ประเทศได้พบ 1 ชนิดย่อยคือ Nectariaia jugularis flammaxillaris Blyth  ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ flamm หรือ flamma แปลว่าสีแดงเพลิง และ axillaris (=axilla) แปลว่ารักแร้  ความหมายคือ "ขนรักแร้สีแดง"  พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Nectarinia jugularis'' ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินสมัยกลางคือ jugularis (jugul, =um หรือ jugulum) แปลว่าคอหอย  ความหมายคือ "นกที่คอหอยมีสีเด่น" พบครั้งแรกที่ประทศฟิลิปปินส์  ทั่วโลกมี 25 ชนิดย่อย  ประเทศได้พบ 1 ชนิดย่อยคือ Nectariaia jugularis flammaxillaris Blyth  ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ flamm หรือ flamma แปลว่าสีแดงเพลิง และ axillaris (=axilla) แปลว่ารักแร้  ความหมายคือ "ขนรักแร้สีแดง"  พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:13, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nectariaia jugularis (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ : Olive-backed sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Yellow-breasted sunbird , Yellow-bellied sunbird

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectarinia jugularis ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินสมัยกลางคือ jugularis (jugul, =um หรือ jugulum) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ "นกที่คอหอยมีสีเด่น" พบครั้งแรกที่ประทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมี 25 ชนิดย่อย ประเทศได้พบ 1 ชนิดย่อยคือ Nectariaia jugularis flammaxillaris Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ flamm หรือ flamma แปลว่าสีแดงเพลิง และ axillaris (=axilla) แปลว่ารักแร้ ความหมายคือ "ขนรักแร้สีแดง" พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะซุนดา จนถึงออสเตรเลีย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (11 ซม.) ตัวผู้คอหอยและอกตอนบนสีน้ำเงินเป็นมัน แต่มักมองเห็นเป็นสีดำ ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองสด ปลายหางด้านล่างสีขาว ลำตัวด้านบนสีเขียว แต่ในบริเวณที่แสงสว่างไม่เพียงพออาจมองเห็นเป็นสีน้ำตาล พุ่มขนที่อกสีเหลืองถึงสีส้ม แต่มักถูกปกคลุมด้วยขนปีก ตัวผู้บางตัวช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์มีสีคล้ายตัวเมีย แต่จะมีแถบสีน้ำเงินถึงดำพาดกลางคอหอย และมีสีส้มแซมคอหอยตอนล่างและอกตอนบน ตัวเมียแตกต่างจากตัวเมียของนกกินปลีตัวอื่น ๆ โดยลำตัวด้านล่างและคอหอยสีเหลืองสด แตกต่างจากนกกินปลีคอสีน้ำตาลตัวเมียโดยหางด้านล่างมีแถบสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่าละเมาะใกล้ชายฝั่ง ป่ารุ่น ป่าละเมาะทั่วไป สวนผลไม้ สวนไม้ดอก และทุ่งโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มักเกาะตามกิ่งไม้และพืชที่กำลังออกดอก โดยสามารถเกาะได้ทุกแนว ทั้งแนวตั้งและแนวราบ หรือห้อยหัวลงข้างล่าง กินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหารด้วยการเกาะตามกิ่งที่มีดอกหรือบนดอก ยื่นปากเข้าไปดูดน้ำหวานดอกไม้ นอกจากนี้ยังกินแมลงและตัวหนอนบางชนิดด้วย โดยเฉพาะแมลงหรือตัวหนอนบนกิ่งไม้หรือที่มาตอมดอกไม้

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังตามกิ่งไม้หรือพืชต่าง ๆ ปกติอยู่สูงจากพิ้นดินไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร รังเป็นแบบรังแขวนรูปบวบหรือรียาว ตรงกลางรังพองเป็นกระเปาะ แล้วเรียวไปทางด้านปลายทั้งสองด้าน ปลายด้านหนึ่งแขวนกับกิ่งไม้ อีกปลายหนึ่งห้อยลงพื้นดินยาวมาก มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยใบหญ้า ใบไม้ และใยแมงมุม รังมีการสานวัสดุเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้ใยแมงมุมเชื่อมวัสดุให้ติดกัน แล้วรองพื้นรังด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มจำพวกดอกหญ้าเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีความยาวจากขั้วจนถึงปลายรังประมาณ 24 ซม. บริเวณกระเปาะตรงกลางกว้าง 6-7 ซม. และทางเข้าออกกว้าง 2.0-2.5 ซม. ตัวเมียสร้างรังและหาวัสดุเพียวตัวเดียว ตัวผู้จะช่วยหาวัสดุเพียงเล็กน้อย ขณะตัวเมียกำลังสร้างรัง ตัวผู้จะเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ คอยป้องกันไม่ให้นกคู่อื่นมาแย่งสถานที่ทำรังหรือวัสดุที่ใช้ทำรัง รังมีไข่ 2 ฟอง

ไข่ : สีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วฟองไม่หนาแน่นนัก ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 10.30x13.35 มม. ตัวเมียจะฟักไข่เป็นส่วนใหญ่ ตัวผู้ช่วยฟักบ้างไม่มากนัก ใช้เวลาฟักไข่ 13-14 วัน ทั้งสองเพศช่วยกันหาอาหารมาเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในระยะแรก ๆ เป็นแมลงและตัวหนอน ประมาณ 2 สัปดาห์ลูกนกจะเติบโตและแข็งแรงพอจะออกจากรังได้

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก พบทุกภาค

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง