ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 2: แถว 2:
 
'''วงศ์''' : Dicrurinae <br>
 
'''วงศ์''' : Dicrurinae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicrurus paradiseus'' (Linnaeus) 1766.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicrurus paradiseus'' (Linnaeus) 1766.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Greater Racket-tailed Drongo<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Greater racket-tailed drongo<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Greater Racquet-tailed Drongo,Large Racket-tailed Drongo<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Greater racquet-tailed drongo , Large racket-tailed drongo<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Dicrurus paradiseus'' ชี่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ paradis แปลว่า สวนหรือสวรรค์ อาจมีความหมายว่า “นกของพระเจ้า หรือ นกที่มีความสวยงาม” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Dicrurus paradiseus'' ชี่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ paradis แปลว่า สวนหรือสวรรค์ อาจมีความหมายว่า “นกของพระเจ้า หรือ นกที่มีความสวยงาม” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:18, 17 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Dicrurinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicrurus paradiseus (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ : Greater racket-tailed drongo
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Greater racquet-tailed drongo , Large racket-tailed drongo

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus paradiseus ชี่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ paradis แปลว่า สวนหรือสวรรค์ อาจมีความหมายว่า “นกของพระเจ้า หรือ นกที่มีความสวยงาม” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Dicrurus paradiseus paradiseus (Linnaeus) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดี่ยวกับชื่อชนิด
  2. Dicrurus paradiseus rangoonensis (Gould) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า และ
  3. Dicrurus paradiseus malabaricus (Latham) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมือง Malabar ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ :ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก – กลาง (32 ซม.) แตกต่างจากนกแซงแซวหางบ่วงเล็กตรงที่มีขนาดใหญ่กว่า บริเวณโคนปากมีพุ่มขนขนาดใหญ่และยาวปลายหางเว้า ขนหางคู่นอกมีก้านขนยื่นยาวออกไปมากปลายก้านขนจะมีแผงขนเฉพาะทางด้านนอกแต่เพียงด้านเดียว ซึ่งนกแซงแซวหางบ่วงเล็กจะมีแผงขนทั้งสองด้าน ตัวไม่เต็มวัยพุ่มหงอนขนอาจสั้นและไม่มีก้านขนที่ขนหางคู่นอก

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น สวนผลไม้และสวนป่า ปกติในพื้นราบหรือในระดับต่ำ แต่อาจพบในความสูง 1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ค่อนข้างหายาก อาจพบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ และอาจพบอยู่รวมกับนกกินแมลงและนกจับแมลงหลายชนิด เช่น นกกะรางหัวหงอก นกหัวขวาน นกเค้าโมง นกกะลิงเขียด เป็นต้น อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลงและตัวหนอน โดยการโฉบจับกลางอากาศใกล้ที่เกาะ หรืออาจจิกกินตามลำต้นหรือกิ่งไม้ นอกจากนี้ยังกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า นกขนาดเล็กโดยการจิกตามกิ่งไม้ และกินน้ำหวานดอกไม้ โดยมีพฤติกรรมการกินเช่นเดียวกับนกแซงแซวหงอนขน เป็นนกที่ชอบส่งเสียงร้อง โดยเฉพาะช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ จะได้ยินบ่อยมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และสามารถเลียนเสียงของนกและสัตว์ต่าง ๆ ได้ดีมาก จนบางครั้งทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเสียงร้องของนกหรือสัตว์นั้น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นนกที่ก้าวร้าวและป้องกันอาณาเขตอย่างแข็งขันเช่นเดียวกับนกแซงแซวอื่น ๆ มักบินไล่นกและสัตว์อื่นที่เข้ามาใกล้รังของมันหรืออาณาเขตที่มันครอบครองอยู่

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ หญ้า ใบไม้ และเถาของพืชบางชนิด รังมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 10 ซม. ลึก 5 ซม. อาจเชื่อมวัสดุด้วยใยแมงมุมแต่เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลข ไม่มีการรองรัง รังอยู่ตามง่ามเกือบปลายกิ่ง สูงจากพื้นดินประมาณ 5-15 เมตร รังมีไข่ 3 ฟอง หายากที่มี 4 ฟอง

ไข่ : สีสันของไข่ผันแปรมากส่วนใหญ่เป็นสีขาวแกมสีครีมจนถึงสีชมพูอ่อน และมีลายขีดสีน้ำตาลแกมแดงหรือเทาแกมชมพู ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 20.2x27.8 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 15-16 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกายและยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยกันหาอาหารมาป้อน และคอยระวังอันตราย ลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายค่อนข้างเร็วมาก อายุประมาณ 7-10 วันจะมีขนคลุมร่างกายบางส่วน เริ่มหัดบินและบางครั้งบินในระยะใกล้ ๆ กับรัง แต่ปรากฏเสมอที่ลูกนกตกจากรังแล้วไม่สามารถบินขึ้นรังเองในช่วงดังกล่าวนี้พ่อแม่ยังคงให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการป้อนอาหาร จนกระทั่งลูกนกแข็งแรงและหาอาหารเองได้แล้ว จึงจะแยกจากพ่อแม่ไปอยู่ตามลำพัง

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย rangoonesis พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ชนิดย่อย malabaricus พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกและชนิดย่อย paradiseus พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง