ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกตบยุงหางยาว"
แถว 2: | แถว 2: | ||
'''วงศ์''' : Caprimulgidae <br> | '''วงศ์''' : Caprimulgidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Caprimulgus macrurus'' (Horsfield), 1821.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Caprimulgus macrurus'' (Horsfield), 1821.<br> | ||
− | '''ชื่อสามัญ''' : Large-tailed | + | '''ชื่อสามัญ''' : Large-tailed nightjar<br> |
− | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Long-tailed | + | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Long-tailed nightjar<br><br> |
นกตบยุงหางยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Caprimulgus macrurus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr, -o, หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ ur, =a, -o หรือ oura แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียทั่วโลกมีนกตบยุงหางยาว 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Caprimulgus macrurus bimaculatus Peale ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ bi แปลว่าสอง =macula, -t หรือ maculare แปลว่าจุด ความหมายคือ “มีลายจุด 2 แบบหรือ 2 แห่ง” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ และ Caprimulgus macrurus ambiguous Hartert ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ ambigere แปลว่าสงสัย ซึ่งอาจหมายถึงการจำแนกที่ยังไม่แน่นอน นักปักษีวิทยาบางท่านถือว่าทั้งสองชนิดย่อยเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน | นกตบยุงหางยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Caprimulgus macrurus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr, -o, หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ ur, =a, -o หรือ oura แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียทั่วโลกมีนกตบยุงหางยาว 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Caprimulgus macrurus bimaculatus Peale ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ bi แปลว่าสอง =macula, -t หรือ maculare แปลว่าจุด ความหมายคือ “มีลายจุด 2 แบบหรือ 2 แห่ง” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ และ Caprimulgus macrurus ambiguous Hartert ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ ambigere แปลว่าสงสัย ซึ่งอาจหมายถึงการจำแนกที่ยังไม่แน่นอน นักปักษีวิทยาบางท่านถือว่าทั้งสองชนิดย่อยเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:20, 17 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Caprimulgidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caprimulgus macrurus (Horsfield), 1821.
ชื่อสามัญ : Large-tailed nightjar
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Long-tailed nightjar
นกตบยุงหางยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caprimulgus macrurus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr, -o, หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ ur, =a, -o หรือ oura แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียทั่วโลกมีนกตบยุงหางยาว 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Caprimulgus macrurus bimaculatus Peale ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ bi แปลว่าสอง =macula, -t หรือ maculare แปลว่าจุด ความหมายคือ “มีลายจุด 2 แบบหรือ 2 แห่ง” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ และ Caprimulgus macrurus ambiguous Hartert ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ ambigere แปลว่าสงสัย ซึ่งอาจหมายถึงการจำแนกที่ยังไม่แน่นอน นักปักษีวิทยาบางท่านถือว่าทั้งสองชนิดย่อยเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน
กระจายพันธุ์ : ในปากีสถาน อินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และออสเตรเลียตอนเหนือ
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) ตัวเต็มวัยจะมีหางยาวไม่น้อยกว่า 14.6 ซม. ตัวผู้สีสันโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลแกมเทา บริเวณกลางขนปลายปีกมีลายแถบสีขาวเด่นชัด 4 แถบ บริเวณปลายหางมีแถบใหญ่สีขาว 2 แถบด้านนอก รอบคอด้านบนมีลายสีน้ำตาลแดง คอหอยสีขาว ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเนื้อ มีลายแถบเล็กสีเข้ม ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่ลายแถบที่ขนปลายปีกมีขนาดเล็กกว่าและเป็นสีเนื้อและแคบกว่าแถบสีขาวของตัวผู้ ตัวผู้ไม่เต็มวัยมีลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่สีจางออกสีเนื้อมากกว่า แถบที่ขนปลายหางด้านนอกไม่เด่นชัดและเป็นสีน้ำตาลแดง
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น และทุ่งโล่ง ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่มีกิจกรรมและหากินช่วงเย็นค่ำและกลางคืน ส่วนในเวลากลางวันมันมักหมอบนอนหลับตามพื้นดินใต้ร่มเงาต้นไม้หรือพุ่มหญ้าซึ่งมีใบไม้หรือใบหญ้าที่ร่วงหล่นค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากมันมีสีสันกลมกลืนกับสีใบไม้ใบหญ้าและพื้นดินจึงมักมองไม่ค่อยเห็นตัว ยกเว้นเมื่อบังเอิญเดินเข้าไปใกล้แล้วมันบินหนี ช่วงเย็นค่ำมักเห็นมันบินร่อนเหนือระดับยอดไม้ในลักษณะคล้ายพวกนกนางแอ่น นกตบยุงหางยาวร้อง “กรุ้ง” ติดต่อกันประมาณ 5 พยางค์ ใน 4 วินาที ระยะการร้องแต่ละครั้งมักไม่สม่ำเสมอ มันร้องทั้งขณะที่หมอบตามพื้นดินและเกาะกิ่งไม้ อาหาร ได้แก่ ผีเสื้อกลางคืน ด้วงปีกแข็ง และแมลงกลางคืนต่าง ๆ มันหาอาหารโดยหมอบตามพื้นดินหรือเกาะกิ่งไม้แห้ง เมื่อแมลงบินผ่านมาก็บินโฉบจับด้วยปาก มักหากินบริเวณสองข้างทางถนนที่ตัดผ่านป่า ทุ่งหญ้า หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของคน โดยเฉพาะย่างยิ่งบริเวณที่มีแสงไฟซึ่งมีแมลงมาชุมนุมกัน
การผสมพันธุ์ : นกตบยุงหางยาวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมทำรังตามพื้นดินโดยไม่ใช้วัสดุสร้างร้าง มันเพียงแต่ขุดดินให้เป็นแอ่งเล็กน้อย แล้ววางไข่ในแอ่ง รังมีไข่ 2 ฟอง
ไข่ : สีครีมแกมเหลืองจนถึงสีเนื้อแกมชมพู มีลายจุดหรือลายดอกดวงสีเทาหรือเทาแกมแดง มีขนาดเฉลี่ย 22.6x31.3 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา มีขนปกคลุมลำตัวบางส่วน และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ลูกนกพัฒนาขนปกคลุมลำตัวและเจริญเติบโตเร็วมาก หลังออกจากไข่ประมาณ 2 สัปดาห์หรือนานกว่าเล็กน้อยมันก็สามารถบินได้ และหลังจากนั้นไม่นานมันจะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : นกตบยุงหางยาวเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค
กฎหมาย : จัดนกตบยุงหางยาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง