ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกวัก"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | [[File: | + | [[File:Amaurornis phoenicurus01.jpg|right]] |
'''วงศ์''' : Rallidae <br> | '''วงศ์''' : Rallidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Amaurornis phoenicurus'' (Pennant) 1769.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Amaurornis phoenicurus'' (Pennant) 1769.<br> |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 05:47, 29 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Rallidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaurornis phoenicurus (Pennant) 1769.
ชื่อสามัญ : White-breasted waterhen
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
นกกวักมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaurornis phoenicurus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ phoeni, -c, -co, =x หรือ phoenix หรือ phoinikos แปลว่าสีม่วง สีม่วงแกมแดง หรือสีแดง และ ur, -a, -o หรือ ouros แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางสีม่วงหรือม่วงแกมแดงหรือแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ทั่วโลกมีนกกวัก 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Amaurornis phoenicurus chinensis (Boddaert) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศจีน บริเวณเกาะฮ่องกง
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้เชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน ฮ่องกง หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (31-33 ซม.) ปากเรียวแหลมสีเขียว คอยาวปานกลางปีกกว้าง ปลายปีกมน ขายาวปานกลาง แข้งและนิ้วสีเขียว ตัวเต็มวัยกระหม่อม ท้ายทอย คอด้านบนและลำตัวด้านบนสีเทาดำ หน้าผาก หัวด้านข้าง คอด้านล่าง อก และท้องเป็นสีขาว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างและหางด้านล่างสีน้ำตาลแดง ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาวหม่น
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มที่มีหญ้า กก อ้อ จูด หรือพืชอื่นขึ้นแน่น เช่น บึง หนอง คลอง คู อ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบ ทุ่งนาและทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง ป่าชายเลน เป็นต้น มีกิจกรรมและหากินในช่วงเช้าตรู่ เย็นค่ำ และในเวลากลางคืน ช่วงกลางวันอาจมีกิจกรรมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะพบมันเดินบนพืชลอยน้ำหรือพืชที่อยู่ในน้ำ บ่อยครั้งพบเดินบนบกทั้งใกล้และไกลจากแหล่งน้ำพอสมควร ไม่ค่อยพบมันว่ายน้ำทั้งที่มันว่ายและดำน้ำได้ดี เวลาเดินมักกระดกหางขึ้นลงเป็นจังหวะคล้ายนกอัญชัน นกกวักบินได้ดีปานกลาง แต่ไม่สูงและไม่ไกลมากนัก มันเกาะกิ่งไม้ได้ดีปานกลาง แต่ก็พบไม่บ่อย นอกจากเกาะขอนหรือกิ่งไม้ในแหล่งน้ำเวลามีศัตรูหรือสิ่งรบกวนมันมักเดินหรือวิ่งเข้าพงหญ้าซึ่งทำให้ศัตรูมองเห็นมันได้ยาก ปกตินกกวักจะอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบเป็นคู่ ในช่วงนี้มักได้ยินเสียงร้อง “กวัก-กวัก” เป็นประจำ มันร้องเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ประกาศอาณาเขต และเตือนภัยเมื่อมีศัตรู อาหารได้แก่ พืชและสัตว์ พืชส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว หญ้า และธัญพืชต่าง ๆ บางครั้งกินพืชน้ำ เช่น จอกแหน สาหร่าย เป็นต้น สัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำและแมลง เช่น ลูกปลา กุ้ง ปู หอย เขียด ตั๊กแตน แมลงปอ ตัวหนอนของแมลงหลายชนิด เป็นต้น ส่วนใหญ่นกกวักหาอาหารด้วยการเดินไปตามกอพืช บนพืชลอยน้ำ บนดินหรือลุยน้ำที่ไม่ลึกมากนัก เมื่อพบอาหารจะใช้ปากจิกกิน บางครั้งมันใช้วิธียืนตามกอพืชหรือบนพืชลอยน้ำเพื่อคอยจ้องจิกกินสัตว์ที่ผ่านไปมาในน้ำ
การผสมพันธุ์ : นกกวักผสมพันธุ์เกือบตลอดปีแต่โดยมากจะเป็นช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ก่อนทำรังมันจะแยกออกจากฝูงมาหากินตัวเดียวและร้องหาคู่ หลังจากจับคู่และผสมพันธุ์แล้วทั้งคู่จะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างบนกอหญ้าหรือตามพืชลอยน้ำโดยนำใบหญ้ากอหญ้าวางซ้อนกัน แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่โดยเฉลี่ยรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 20-25 ซม. ลึก 6-8 ซม. และอยู่สูงจากระดับน้ำหรือพื้นดิน 0.10-2.0 เมตร
ไข่ : มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่ทรงกลมจนถึงรูปไข่ ผิวเรียบ สีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน มีจุดสีม่วงเทาหรือน้ำตาลทั่วฟอง แต่จะมีมากทางด้านป้าน มีขนาดเฉลี่ย 29.43x38.65 มม. รังมีไข่ 4-8 ฟองทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ จะเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 22-25 วัน ลูกนกจะออกจากไข่เองโดยใช้ฟันเจาะ เมื่อลูกนกออกจากไข่แล้วพ่อแม่นกจะคาบเปลือกไข่ไปทิ้งให้ไกลจากรังและกินเองบางส่วน เพื่อไม่ให้ศัตรูตามกลิ่นมาทำอันตรายลูกนกและไข่ที่เหลืออยู่ได้ ลูกนกแรกเกิดลืมตาได้ มีขนอุยสีดำปกคลุมทั่วตัว หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อขนแห้งดีแล้วก็สามารถเดินได้ เมื่อลูกนกออกจากไข่ครบรังพ่อแม่จะนำออกหากิน ในช่วงแรกพวกมันจะไปไกลขึ้น และทิ้งรังในที่สุด เมื่อมีภัยพ่อแม่จะส่งเสียงร้องเตือน ลูกจะวิ่งหลบซ่อนตามพงหญ้าเมื่อพ้นภัยแล้วหรือเมื่อพ่อแม่เรียก พวกมันจึงจะออกมาลูกนกจะติดตามพ่อแม่ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นพวกมันจึงแยกไปหากินตามลำพังหรือรวมฝูงกับครอบครัวอื่น อายุ 1 ปีจึงเป็นตัวเต็มวัย
สถานภาพ : นกกวักเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่ปริมาณจะลดลงมีค่อนข้างสูง ทั้งนี้เพาะในปัจจุบันนกกวักจำนวนมากถูกล่าเป็นอาหาร โดยทั่วไปคนล่ามักวางตาข่ายดัก แล้วเลียนเสียงนกกวัก เปิดเทปเสียงนกกวัก หรืออาจใช้นกกวักที่เลี้ยงไว้เป็นนกต่อให้นกกวักตัวอื่นมาติดตาข่าย เป็นต้น
กฎหมาย : จัดนกกวักเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง