ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระสานวล"
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | [[ไฟล์:Ardea_cinerea01.jpg|right]] | ||
'''วงศ์''' : Ardeidae<br> | '''วงศ์''' : Ardeidae<br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea cinerea'' (Linnaeus),1758.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea cinerea'' (Linnaeus),1758.<br> | ||
แถว 20: | แถว 21: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดนกกระสานวลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดนกกระสานวลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
---- | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Ardea_cinerea02.jpg]] [[ไฟล์:Ardea_cinerea03.jpg]] [[ไฟล์:Ardea_cinerea04.jpg]] | ||
+ | ---- | ||
+ | '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/ab/Ardea-cinerea-0525.jpg<br> | ||
+ | https://pixabay.com/static/uploads/photo/2015/09/15/20/06/heron-941714_960_720.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/76/Grey_Heron_(Ardea_cinerea)_in_AP_W_IMG_4038.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e5/Ardea_cinerea_1.JPG/1280px-Ardea_cinerea_1.JPG<br> |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:46, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Ardeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardea cinerea (Linnaeus),1758.
ชื่อสามัญ : Grey heron
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ardea cinerea ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner , -ar, -e, -I หรือ cinis แปลว่าสีเทา ความหมายคือ “นกยางที่มีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์หมายถึงนกยาง แต่ชื่อภาษาไทยของนกทั้งสกุลกลับเรียกว่า “นกกระสา” ซึ่งน่าจะเรียก “นกยาง” มากกว่า ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Ardea cinerea rectiostris Gould ชื่อชนิดย่อมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ rect, -I, -o หรือ rectus แปลว่าตรง และ rostr, =um หรือ rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกยางสีเทาที่มีปากตรง” พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย
กระจายพันธุ์ : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย จีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่มาก (96 – 102 ซม.) ปากยาวตรง ปลายปากแหลม หัวค่อนข้างเล็ก คอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกมน หางค่อนข้างสั้น ขายาวมาก นิ้วค่อนข้างยาว ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยหัวและคอสีออกขาว มีขนยาวสีดำคาดจากบริเวณหัวตาไปยังท้ายทอยและงอกยาวออกไปคล้ายเป็นหางเปียสองเส้น ขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกและลำตัวด้านบนสีเทา ลำตัวด้านล่างสีขาวคอด้านข้างจนถึงอกมีลายขีดสีเข้ม ตัวไม่เต็มวัยมีลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่สีโดยทั่วไปจางกว่า และไม่มีขนเปียสีดำตรงท้ายทอย
อุปนิสัยและอาหาร : มีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ บ่อยครั้งก็หากินในเวลากลางวันด้วย นอกจากจะสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดีแล้ว มันยังบินได้ไกลและเร็วพอประมาณ ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอส ขาเหยียดตรงพ้นปลายหาง และกระพือปีกช้า ๆ นกกระสานวลกินสัตว์น้ำโดยยืนต้องบนพืชลอยน้ำหรือเดินตามแหล่งน้ำที่ไม่ลักมากนัก เมื่อพบเหยื่อจะใช้ปากจิกและกลืนทันที บางครั้งมันจะเดินย่องไปตามพื้นหญ้าซึ่งไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเพื่อจิกกินแมลงตัวหนอน และสัตว์อื่น
การผสมพันธุ์ : จากการศึกษานกกระสานวลในกรงเลี้ยงพบว่า มันผสมพันธุ์ในฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ทำรังเป็นกลุ่มตามต้นไม้และอาจอยู่รวมกับนกอื่น เช่น นกกระสาแดง นกยางโทนใหญ่ เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยทั้งสองเพศจะช่วยกันหากิ่งไม้ทั้งกิ่งแห้งและกิ่งสดมาวางซ้อนกันตามกิ่งหรือง่ามของต้นไม้ แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 60 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 5 – 10 ซม. และอยู่สูงจากพื้นดินไม่ต่ำกว่า 4 – 5 เมตร
ไข่ : ไข่เป็นรูปรียาว สีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่มีจุด ขีดหรือลาย แต่สีจะซีดลงเมื่อถูกฟักนานวันเข้า มีขนาดเฉลี่ย 42.0 x 58.0 มม. รังมีไข่ 3 – 4 ฟอง จะพบ 3 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 27 – 29 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวด้านบนเล็กน้อยและยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันดูแลโดยกกลูกไว้ใต้ปีกหรือใต้ท้องเพื่อให้ความอบอุ่น และหาอาหารมาป้อนโดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนกโดยตรง พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกนกประมาณ 40 – 50 วัน ลูกนกนะแข็งแรงและบินได้ จากนั้นจะทิ้งรังไป
สถานภาพ : ในอดีตเป็นนกประจำถิ่น ปัจจุบันเป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค แต่มักพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่เท่านั้น เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาน จังหวัดสกลนคร และอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นต้น
กฎหมาย : จัดนกกระสานวลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/ab/Ardea-cinerea-0525.jpg
https://pixabay.com/static/uploads/photo/2015/09/15/20/06/heron-941714_960_720.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/76/Grey_Heron_(Ardea_cinerea)_in_AP_W_IMG_4038.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e5/Ardea_cinerea_1.JPG/1280px-Ardea_cinerea_1.JPG