ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินปลีแก้มสีทับทิม"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | + | [[ไฟล์:Anthreptes_singalensis01.jpg|right]] | |
'''วงศ์''' : Nectariniidae <br> | '''วงศ์''' : Nectariniidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Anthreptes singalensis'' (Gmelin) 1788.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Anthreptes singalensis'' (Gmelin) 1788.<br> | ||
แถว 25: | แถว 25: | ||
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
---- | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Anthreptes_singalensis02.jpg]] |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 10:41, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthreptes singalensis (Gmelin) 1788.
ชื่อสามัญ : Ruby-cheeked sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anthreptes singalensis ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ ประเทศศรีลังกา (ชาวพื้นเมืองศรีลังกาในภาษาอังกฤษเรียกว่า Singhalese) ทั่วโลกมี 11 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 4 ชนิดย่อยคือ
- Anthreptes singalensis assmensis (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
- Anthreptes singalensis koratensis (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ โคราชหรือจังหวัดนครราชสีมา
- Anthreptes singalensis internota Deignan ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และรากศัพท์ภาษากรีก not, -o แปลว่าทิศใต้หรือภาคใต้ ความหมายคือ “นกที่พบระหว่างรอยต่อของภาค” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และ
- Anthreptes singalensis interposita (Robinson and Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ posi แปลว่าสถานที่ ความหมายคือ “นกที่พบระหว่าง 2 พื้นที่” พบครั้งแรกบริเวณพื้นที่ระหว่างจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่เนปาลจนถึงจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (11 ซม.) ตัวผู้คอหอยและอกตอนบนสีน้ำตาลแดงหรือสีส้ม ขนบริเวณหูสีแดงแกมสีทองแดง ขนคลุมขนปีก ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีเขียวเป็นมัน ตัวเมียลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลืองถึงสีเขียว คอหอยสีน้ำตาลแดงแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีเหลือง ตัวไม่เต็มวัยคล้ายตัวเมีย แต่บริเวณคอหอยมีสีน้ำตาลแดงน้อยกว่า
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าพรุ และป่ารุ่น บางครั้งพบในสวนผลไม้ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล และอาจพบได้ในป่าชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ บางครั้งในแหล่งอาหารเดียวกันอาจพบหลายตัวหรือหลายคู่อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่ได้แสดงพฤติกรรมการอยู่เป็นฝูง บ่อยครั้งพบหากินและมีกิจกรรมร่วมกับพวกนกติดและนกแว่นตาขาว อาหารได้แก่ น้ำหวานดอกไม้ หาอาหารโดยบินไปเกาะกลีบหรือโคนดอกไม้ แล้วสอดปากเข้าไปดูดน้ำหวานหรือจิกเกสรดอกไม้กิน นอกจากนี้ยังกินแมลงด้วย โดยเฉพาะแมลงที่บินมาตอมดอกไม้ซึ่งมันกำลังกินน้ำหวานอยู่
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม รังเป็นรูปกระเปาะหางยาว แขวนอยู่ตามกิ่งไม้ของไม้พุ่มที่ค่อนข้างทึบหรือภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ รังอยู่สูงจากพื้นดินไม่มากนัก รังประกอบด้วยใบไม้ ใบหญ้า และต้นหญ้า เชื่อมกันด้วยใยแมงมุม อาจรองพื้นรังด้วยดอกหญ้าหรือวัสดุที่อ่อนนุ่ม รังมีไข่ 2 ฟอง
ไข่ : สีครีม มีลายจุดและลายเมฆสีม่วงถึงเทา ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 10.3x13.4 มม. ตัวเมียหาวัสดุและสร้างรังเองทั้งหมด ขณะที่ตัวผู้จะคอยป้องกันอาณาเขตและวัสดุที่กำลังสร้างรัง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย assamensis พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย koratensis พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย internota และชนิดย่อย interposita พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง