ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | + | [[ไฟล์:Anthreptes_rhodolaema01.jpg|right]] | |
'''วงศ์''' : Nectariniidae <br> | '''วงศ์''' : Nectariniidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Anthreptes rhodolaema'' (Shelley), 1878.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Anthreptes rhodolaema'' (Shelley), 1878.<br> | ||
แถว 20: | แถว 20: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Anthreptes_rhodolaema02.jpg]] [[ไฟล์:Anthreptes_rhodolaema03.jpg]] | ||
---- | ---- | ||
+ | '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> | ||
+ | http://www.indonesiatravelingguide.com/wp-content/uploads/2010/11/Anthreptes-rhodolaema-02.jpg<br> | ||
+ | http://www.whywelovebirds.com/img/s1/v56/p467344041-3.jpg<br> | ||
+ | http://www.whywelovebirds.com/img/s2/v1/p364389868-3.jpg<br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 10:50, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthreptes rhodolaema (Shelley), 1878.
ชื่อสามัญ : Red-throated sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Rufous-throated sunbird , Shelly’s sunbird
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anthreptes rhodolaema ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ rhod, -o, =um แปลว่ากุหลาบหรือสีกุหลาบ และ laem, -o, =us หรือ laimos แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “นกที่มีคอหอยสีกุหลาบ” พบครั้งแรกที่เมือง Malacca ประเทศมาเลเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ตัวผู้คล้ายนกกินปลีคอสีน้ำตาลตัวผู้มาก แต่หัวด้านข้างขนคลุมขนปีกส่วนใหญ่ และขนโคนปีกเป็นสีแดงเข้มถึงแดง มีแถบเล็ก ๆ สีม่วงเป็นมันที่ขนโคนปีก คอหอยสีแดงแกมสีอิฐ ลำตัวด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเหลืองกลางท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองแกมเขียว ตัวเมียลักษณะคล้ายนกกินปลีคอสีน้ำตาลตัวเมีย แต่ลำตัวด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเหลืองอ่อน ตั้งแต่กลางท้องลงไปสีออกเหลืองมากกว่า คอหอยและอกบางครั้งมีสีส้มแซม หางสั้นกว่า 44 มม.
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้นระดับต่ำและชายป่า ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกกินปลีคอสีน้ำตาล
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ทำรังเป็นรูปกระเปาะห้อยลงจากกิ่งไม้ มีทางเข้าอยู่ทางด้านข้างค่อนไปทางด้านบน รังอยู่สูงจากพื้นดิน 9-21 เมตร สร้างรังด้วยใบไม้ ใบหญ้า และเยื่อใย โดยเชื่อมวัสดุให้ติดกันด้วยใยแมงมุม
ไข่ : สีม่วงอ่อน มีแถบและเส้นสีน้ำตาล ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น คาดว่าคล้ายนกกินปลีคอสีน้ำตาล
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก จนกระทั่งหายากและปริมาณน้อย พบเฉพาะบางแห่งทางภาคใต้
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
http://www.indonesiatravelingguide.com/wp-content/uploads/2010/11/Anthreptes-rhodolaema-02.jpg
http://www.whywelovebirds.com/img/s1/v56/p467344041-3.jpg
http://www.whywelovebirds.com/img/s2/v1/p364389868-3.jpg