ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 19: แถว 19:
 
'''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น  พบบ่อยและปริมาณปานกลาง  ชนิดย่อย fulvum พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  ชนิดย่อย tickelli พบทางภาคตะวันตกและภาคใต้
 
'''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น  พบบ่อยและปริมาณปานกลาง  ชนิดย่อย fulvum พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  ชนิดย่อย tickelli พบทางภาคตะวันตกและภาคใต้
 
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
+
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง<br>
----
+
----
 
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 
http://ibc.lynxeds.com/files/pictures/Buff_Breasted_Babbler_AS0F4596_resize.jpg<br>
 
http://ibc.lynxeds.com/files/pictures/Buff_Breasted_Babbler_AS0F4596_resize.jpg<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 11:00, 25 มกราคม 2559

Pellorneum tickelli01.jpg

วงศ์ : Sylviinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pellorneum tickelli (Blyth), 1859.
ชื่อสามัญ : Buff-breasted babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Buff-throated babbler , Tickell's jungle babbler , Tickell's babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pellorneum tickelli ชื่อชนิดมาจากชื่อของพันเอก Samuel Richard Tickell (ค.ศ.1811-1875) นักการทหารชางอังกฤษประจำประเทศอินเดียและพม่า นักปักษีวิทยา นักเขียน และนักศิลปะ พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า ทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Pellorneum tickelli tickelli Blyth ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด และ Pellorneum tickelli fulvum (Walden) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ fulv หรือ flavus แปลว่าสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมเหลือง ความหมายคือ "มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมเหลือง" พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่รัฐอัสสัม จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเซียตะวันตกเฉียงใต้ และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) สันขากรรไกรบนสั้นกว่า 18 มม. ปีกยาวน้อยกว่า 70 มม. ตาสีน้ำตาลแกมแดง ลำตัวด้านบนและหัวด้านข้างสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างสีเหลืองโดยคอหอยสีจางกว่า ท้องสีขาว สีข้างสีน้ำตาลแกมเขียว

อุปนิสัยและอาหาร : พบตั้งแต่ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่าไผ่ และป่ารุ่น แต่ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีไม้พื้นล่างหนาแน่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ หากินแมลงตามพื้นดินด้วยการใช้ปากพลิกใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน เมื่อพบเหยื่อก็ใช้ปากจิกกิน เมื่อมีสิ่งรบกวนจะใช้วิธีกระโดดเข้าไปหลบในพุ่มไม้ที่รกทึบ จะบินก็ต่อเมื่อจวนตัวเท่านั้น

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ทำรังเป็นรูปทรงกลมหรือกึ่งทรงกลมคล้ายรังของพวกนกจาบดิน แต่จะมีขนาดเล็กและแน่นกว่า วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยใบไผ่และใบหญ้า รองพื้นรังด้วยใบหญ้าที่ฉีกละเอียด รังอยู่ตามฟื้นดิน พุ่มไม้ หรือกอไผ่ที่มักสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 ซม. มักพบอยู่ใกล้ลำธาร รังมีไข่ 3 หรือ 4 ฟอง

ไข่ : สีเทาแกมเขียวอ่อน มีลายขีด หรือลายดอกเล็ก ๆ สีน้ำตาลแกมแดงหรือน้ำตาลแกมเขียว ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 15.7x19.9 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย fulvum พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ชนิดย่อย tickelli พบทางภาคตะวันตกและภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


แหล่งที่มาของภาพ
http://ibc.lynxeds.com/files/pictures/Buff_Breasted_Babbler_AS0F4596_resize.jpg