ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงสีน้ำตาล"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 1: แถว 1:
 
+
[[ไฟล์:Muscicapa_dauurica01.jpg|right]]
 
'''วงศ์''' : Muscicapidae <br>
 
'''วงศ์''' : Muscicapidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Muscicapa dauurica'' (Pallas), 1811.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Muscicapa dauurica'' (Pallas), 1811.<br>
แถว 22: แถว 22:
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
----
 
----
 +
[[ไฟล์:Muscicapa_dauurica02.jpg]]  [[ไฟล์:Muscicapa_dauurica03.jpg]]  [[ไฟล์:Muscicapa_dauurica04.jpg]] 
 +
----
 +
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a1/Muscicapa_dauurica_2_-_Khao_Yai.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/8b/Asian_Brown_Flycatcher_(Muscicapa_dauurica).jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/be/Asian_Brown_Flycatcher_(Muscicapa_dauurica)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(2).jpg<br>
 +
https://c1.staticflickr.com/3/2206/1859192122_4e4edfa706.jpg<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 11:10, 25 มกราคม 2559

Muscicapa dauurica01.jpg

วงศ์ : Muscicapidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muscicapa dauurica (Pallas), 1811.
ชื่อสามัญ : Asian brown flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Brown flycatcher

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapa dauurica ชื่อชนิดอาจเป็น daurica ซึ่งดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ Daurica ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย และอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลสาบไบคาล ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างมองโกเลียและแมนจูเรีย อย่างไรก็ตามตำราส่วนใหญ่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapa latirostris Raffles, 1822. ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ lati หรือ latus แปลว่ากว้าง และ rostr,=um หรือ rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากกว้าง” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และถือว่า dauurica เป็นเพียงชนิดย่อยหนึ่งเท่านั้น การใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapa dauurica อาจเนื่องมาจากเป็นชื่อที่ตั้งมาก่อน ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Muscicapa dauurica dauurica Pallas ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
  2. Muscicapa dauurica cinereoalba Temminck and Schlegel ขื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner,-ar,-e,-I หรือ cinereus แปลว่าสีเทา และ alb,-i,-id หรือ albus แปลว่าสีขาวความหมายคือ “นกที่มีสีเทาและขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น และ
  3. Muscicapa dauurica siamensis (Gyldenstope) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศไทย ที่จังหวัดลำปาง

กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ตัวเต็มวัยลำตัวด้านบนสีเทาจนถึงน้ำตาลแกมเทา ปากสีดำ ขากรรไกรล่างเป็นลักษณะคล้ายแท่งเนื้อ ตอนโคนเป็นสีเหลือง วงรอบเบ้าตาสีขาว ปีกไม่มีลายพาดและลายขีดใด ๆ ลำตัวด้านล่างสีออกขาว อกและสีข้างสีเทาแกมน้ำตาล ตรงกลางอกมักมีสีออกขาว นิ้วสีออกดำ ในห้องปฏิบัติการลำตัวด้านล่างบางครั้งเป็นลายขีดเล็กละเอียด ปีกยาว 67-76 มม. ขนปลายปีกนับจากด้านในเส้นที่ 9 สั้นกว่าเส้นที่ 6 ตัวไม่เต็มวัยปีกมีลายพาดสีเนื้อ ในช่วงแรกลำตัวด้านบนมีลายจุดสีเนื้อเข้ม

อุปนิสัยและอาหาร : พวกที่เป็นนกอพยพพบในป่าโปร่ง ชายป่า ทุ่งโล่ง สวนผลไม้ และป่าชายเลนตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล พวกที่เป็นนกประจำถิ่นพบในป่าโปร่งและป่าดงดิบเขา ในความสูงระหว่าง 600-1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่มักเกาะตามกิ่งล่างของต้นไม้หรือกิ่งแห้ง ตาคอยจ้องหาเหยื่อ ซึ่งไม้แก่ แมลง จากนั้นจะโฉบด้วยปากกลางอากาศ แล้วกลับมาเกาะที่เดิม ขณะเกาะตามปกติมักสั่นปีก ห้อยหางลง เป็นนกที่มีกิจกรรมมากในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ

การผสมพันธุ์ : ชนิดย่อย siamensis ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังเป็นรูปถ้วย โดยสร้างจากมอสและกิ่งไม้เล็กๆ รองพื้นรังด้วยรากฝอย ขนนก และวัสดุเยื่อใย รังอยู่ตามกิ่งไม้ ซึ่งอาจเป็นกิ่งแห้งหรือกิ่งที่อยู่ในที่โล่ง สูงจากพื้นดิน 2-6 เมตร รังมีไข่ 4 ฟอง ไข่สีเทาแกมเขียว มีลายขีดสีน้ำตาล ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.1x17.4 มม. ตัวเมียตัวเดียวที่ฟักไข่ โดยตัวผู้จะคอยหาอาหารมาป้อนขณะตัวเมียฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ 11-12 วัน ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังและเลี้ยงดูลูกอ่อนใช้เวลาเลี้ยงลูก 9-10 วัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ชนิดย่อย cinereoalba เป็นนกอพยพ พบบ่อยและปริมาณมาก พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลาง ชนิดย่อย dauurica เป็นนกอพยพ พบบ่อยและปริมาณมาก พบทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ ชนิดย่อย siamensis เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักในบางท้องที่ พบเฉพาะทางภาคเหนือด้านตะวันตก

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Muscicapa dauurica02.jpg Muscicapa dauurica03.jpg Muscicapa dauurica04.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a1/Muscicapa_dauurica_2_-_Khao_Yai.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/8b/Asian_Brown_Flycatcher_(Muscicapa_dauurica).jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/be/Asian_Brown_Flycatcher_(Muscicapa_dauurica)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(2).jpg
https://c1.staticflickr.com/3/2206/1859192122_4e4edfa706.jpg