ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกอีแพรดแถบอกดำ"
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | [[ไฟล์:Rhipidura_javanica01.jpg|right]] | ||
'''วงศ์''' : Dicrurinae <br> | '''วงศ์''' : Dicrurinae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Rhipidura javanica'' (Sparrman) 1788.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Rhipidura javanica'' (Sparrman) 1788.<br> | ||
แถว 20: | แถว 21: | ||
'''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
---- | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Rhipidura_javanica02.jpg]] [[ไฟล์:Rhipidura_javanica03.jpg]] [[ไฟล์:Rhipidura_javanica04.jpg]] | ||
+ | ---- | ||
+ | '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/04/Willie_wagtail.jpg<br> | ||
+ | https://c1.staticflickr.com/9/8326/8080221357_28064b2175.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a8/Pied_Fantail.jpg<br> | ||
+ | https://c1.staticflickr.com/9/8324/8080214644_426a2de73e_b.jpg<br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:55, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Dicrurinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhipidura javanica (Sparrman) 1788.
ชื่อสามัญ : Pied fantail
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Pied fantail flycatcher
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhipidura javanica ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Rhipidura javanica longicauda Wallace ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ long,-I หรือ longus แปลว่ายาว และ caud,=a แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) ตัวเต็มวัยมีลายพาดสีดำผ่านอกตอนบน ตัดกับสีของคอหอยที่มีสีขาว และท้องที่มีสีขาวแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านบนสีเทาเข้ม-น้ำตาล หัวสีออกดำ คิ้วและปลายขนหางสีขาว ตัวไม่เต็มวัยตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดง ปีกมีลายพาดสีน้ำตาลแดง แถบที่อกขนาดเล็กและมีลายสีขาว
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามสวนผลไม้บริเวณที่ใกล้บ้านเรือน ป่าละเมาะ ทุ่งโล่ง และป่าชายเลน ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักเกาะหรือกระโดดไปมาตามกิ่งไม้ระดับต่ำ ไม้พุ่ม ไม้พื้นล่าง หรือบนพื้นดิน บางครั้งพบเกาะตามเรือนยอดของต้นไม้ระดับสูง ขณะเกาะหรือกระโดดไปมามักยกหางขึ้นเล็กน้อย แผ่ขนหางเป็นรูปพัด อาจพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มีพฤติกรรมในการป้องกันอาณาเขต ถ้าสัตว์อื่นหรือนกที่ไม่ใช่คู่ของมันหลงเข้ามาในอาณาเขตที่มันครอบครองอยู่ จะส่งเสียงร้องและไล่จิกตีให้ออกไป นกอีแพรดแถบอกดำร้อง “ชิบ-ชิบ-ชิวิก” เป็นเสียวสูงและเน้นที่พยางค์สุดท้าย อาหารได้แก่ แมลงขนาดเล็กและตัวหนอน โดยจิกกินตามกิ่งไม้ ยอดไม้ บนพื้นดิน และโฉบจับกลางอากาศใกล้กับที่เกาะ
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังตามกิ่งของไม้ต้นหรือไม้พุ่มที่แตกขนานไปกับพื้นดิน ปกติสูง 2-6 เมตร รังเป็นรูปถ้วยกลม กว้างประมาณ 7-8 ซม. ลึก 2-4 ซม. ก้นรังติดอยู่กับกิ่งไม้ วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ใบไม้ ใบหญ้า เปลือกไม้ เส้นใยมะพร้าวเชื่อมและอัดกันแน่นด้วยใยแมงมุม ทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและก่อสร้างรัง เริ่มต้นโดยใช้ใบหญ้าหรือใยมะพร้าวผูกติดกับกิ่งไม้ จากนั้นก็ใช้กิ่งไม้ เปลือกไม้และใบหญ้า มาโค้งเป็นรูปรัง มีการสานสอดวัสดุเล็กน้อยใช้ใบไม้เปลือกไม้มาหุ้มโครงสร้างดังกล่าว โดยใช้ใยแมงมุมเป็นตัวเชื่อม จนกระทั่งรังแน่นหนา แข็งแรงและยึดติดกับกิ่งไม้อย่างมั่นคง รังมีไข่ 2-3 ฟอง
ไข่ : มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลเข้มรอบไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.45x16.50 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 12-13 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ไม่มีขนคลุมร่างกาย อายุประมาณ 2 สัปดาห์จะออกจากรังแต่ยังรวมกันอยู่เป็นครอบครัว จากนั้นจะแยกไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้
กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/04/Willie_wagtail.jpg
https://c1.staticflickr.com/9/8326/8080221357_28064b2175.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a8/Pied_Fantail.jpg
https://c1.staticflickr.com/9/8324/8080214644_426a2de73e_b.jpg