ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เป็ดแดง"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | + | [[ไฟล์:Dendrocygna_javanica01.jpg|right]] | |
'''วงศ์''' : Dendrocygnidae <br> | '''วงศ์''' : Dendrocygnidae <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dendrocygna javanica'' (Horsfield) 1821.<br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dendrocygna javanica'' (Horsfield) 1821.<br> | ||
แถว 23: | แถว 23: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็ดแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็ดแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
---- | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Dendrocygna_javanica02.jpg]] [[ไฟล์:Dendrocygna_javanica03.jpg]] | ||
+ | ---- | ||
+ | '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/dd/Lesser_Whistling_Duck_(Dendrocygna_javanica),_Singapore_-_20090426.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/20/Lesser_Whistling-ducks-_Resting_hidden_inside_the_foilage_I_IMG_0922.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/12/Lesser_Whistling-duck_(Dendrocygna_javanica)_in_Hyderabad_W_IMG_8457.jpg<br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:37, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Dendrocygnidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocygna javanica (Horsfield) 1821.
ชื่อสามัญ : Lesser whistling-duck
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Indian whistling duck , Whistling teal , Whistling duck , Lesser treeduck
เป็ดแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocygna javanica ชื่อชนิดดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ จีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน พม่า ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (40-43 ซม.) มีปากแบน กว้าง สีเทาดำ ยาว 2.5-2.8 ซม. คอยาวปานกลางปีกยาวและปลายปีกแหลม ขายาวปานกลาง แข้งและนิ้วสีเทาดำ ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน คือลำตัวทั่วไปเป็นสีน้ำตาลแดงกระหม่อม ช่วงไหล่ และปีกเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าบริเวณอื่น ขนปลายปีกสีดำ เวลาบินจะเห็นสีปีกตัดกับสีของลำตัวชัดเจน
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ เช่น คู คลอง บ่อ หนอง บึง บาง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น รวมทั้งแหล่งน้ำเหนือเขื่อนด้วย พบอยู่เป็นฝูงใหญ่มาก บางฝูงอาจมีนกมากกว่า 1,000 ตัว ปกติเป็นแดงมีกิจกรรมและหากินในเวลากลางคืนส่วนในเวลากลางวันมันจะลอยน้ำหรือว่ายน้ำพักผ่อนนอนหลับ หรืออาจขึ้นมายืนบนบกใกล้แหล่งน้ำ หรือเกาะพักผ่อนนอนหลับตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในแหล่งน้ำหรือชายน้ำ เวลานอน มันจะหดคอสั้นติดลำตัว บางครั้งเอาปากซุกใต้ปีก เวลาบินขึ้นจากน้ำ มันต้องใช้ตีนตะกุยน้ำเป็นระยะทางพอประมาณจึงจะบินขึ้นเหนือน้ำได้ ขณะบินเพื่อออกหากินหรือบินหนีสิ่งรบกวนมันมักร้อง “วี้ด-วี้ด” คล้ายเสียงนกหวีด แต่ขณะลอยหรือว่ายน้ำ มันจะไม่ส่งเสียงร้องแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าเสียงที่ได้ยินเกิดจากขนปลายปีกเสียดสีกับอากาศ ไม้ใช่เสียงร้อง ขณะบินหัวและลำคอเหยียดตรงไปข้างหน้า ขาและนิ้วเหยียดมาข้างหลัง ขนหางแผ่ออก รูปแบบของฝูงบินมีเช่นรูปหัวลูกศร รูปแถวหน้ากระดาน รูปเส้นทแยงมุมเป็นกลุ่มไม่มีระเบียบ เป็นต้น มักมีเป็ดตัวหนึ่งตัวนำฝูงเสมอ โดยมีการผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเป็นตัวนำ เป็ดแดงเริ่มออกบินหากินประมาณ 18.00 น. จากแหล่งพักผ่อนหรือแหล่งน้ำไปยังแหล่งอาหาร เช่นทุ่งนา ทุ่งหญ้า ทั้งที่ใกล้หรือไกลจากแหล่งอาศัย มันจะหากินเกือบตลอดทั้งคืน แล้วบินกลับแหล่งพักผ่อนในช่วงเช้าตรู่ อาหารส่วนใหญ่ของเป็ดแดง ได้แก่ เมล็ดธัญพืช โดยเฉพาะข้าวเปลือก นอกจากนี้มันยังกิน เมล็ดหญ้า พืช และสัตว์น้ำ เช่น สาหร่าย ดีปลีน้ำ แหน ปลา กุ้ง ปู หอย แมลงที่เกาะตามพืชน้ำ เป็นต้น เป็ดแดงจัดเป็นสัตว์ที่ทำความเสียหายให้แก่ชาวนาเพราะมันจะกัดต้นข้าวหรือโน้มรวงข้าวลงมากิน นอกจากนี้ขณะที่มันบินขึ้นลงเป็นฝูงในนาข้าวที่กำลังสุกเหลืองก็จะทำให้เมล็ดข้าวตกหล่น ชาวนาเก็บเกี่ยวไม่ได้ เมื่อใดที่เป็ดในฝูงติดตาข่าย ถูกฆ่า หรือถูกดักจับด้วยวิธีใดก็ตาม เป็ดแดงฝูงนั้นจะไม่ลงกินข้าวในบริเวณนั้นอีก
การผสมพันธุ์ : เป็ดแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน (ศุภชัย,2523; บุษบงและคณะ,2529) ทำรังตามกอกก จูด อ้อ หรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในหรือใกล้แหล่งน้ำที่เป็นแหล่งอาศัย รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยใช้ใบพืชที่อยู่ในบริเวณที่สร้างรัง และใช้ขนนกซึ่งมักเป็นขนบริเวณท้องของมันเองมาวางซ้อนกัน ทำตรงกลางให้เป็นแอ่งคล้ายรูปจานเพื่อรองรับไข่ มันมักอำพรางไข่และรังด้วยการใช้ใบพืชมาคลุมบนรัง ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 23 ซม. ลึก 5-10 ซม. และอยู่สูงจากระดับน้ำประมาณ 10-40 ซม.
ไข่ : ของเป็ดแดงสีขาว ไม่มีลาย มีขนาดเฉลี่ย 33.78x62.59 มม. (บุษบงและคณะ,2529) รังมีไข่ 9-13 ฟอง สืบ (2524) รายงานพฤติกรรมการเข้ารังและฟักไข่ของเป็ดแดงว่า ทั้งตัวผู้และตัวเมียออกหากินพร้อมกัน ตอนขากลับมันจะบินวนและลงพื้นห่างจากรังพอสมควร แล้วจึงเดินช้า ๆ มาที่รัง เมื่อเข้าใกล้รังมันจะหยุดเป็นระยะ ๆ หันหัวไปมา จากนั้นตัวเมียจะปีนขึ้นรังเพื่อฟักไข่ ส่วนตัวผู้จะยืนเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ ปกติเป็ดแดงจะเริ่มฟักไข่เมื่อออกไข่ครบรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิน 29-31 วัน
ลูกนก : ลูกนกแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 18 กรัม ลืมตาได้ มีขนอุยสีดำลายขาวปกคลุมลำตัว ปากสีดำ ปลายปากสีแดง ขาสีดำ นิ้วและพังผืดสีดำ หลังออกจากไข่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขนจะแห้ง สามารถเดินหรือว่ายน้ำตามพ่อแม่ไปหาอาหารได้ ลูกเป็ดแดงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนจึงจะพัฒนาสีสันเหมือนตัวเต็มวัยแต่ยังมีขนาดเล็กกว่า จากนั้นมันจะแยกจากพ่อแม่ไปรวมฝูงกับตัวอื่น ๆ จนอายุ 1 ปีจะโตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้ ในช่วงที่ยังติดตามพ่อแม่ ลูกนกมักซุกอยู่ใต้ปีกของแม่ขณะที่พักผ่อนบนบก เวลามีภัยหรือสิ่งรบกวนลูกนกจะวิ่งหรือว่ายน้ำว่ายน้ำหลบซ่อน ส่วนพ่อหรือแม่จะส่งเสียงร้องเพื่อล่อศัตรูให้ตามต้นเสียงไปบางครั้งมันจะแสดงท่าทางคล้ายได้รับบาดเจ็บให้ศัตรูผละจากลูกมาสนใจมัน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว มันจะส่งเสียงเรียกให้ลูกนกออกจากที่ซ่อน และหากินต่อไป
สถานภาพ : เป็ดแดงเป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค
กฎหมาย : จัดเป็ดแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/dd/Lesser_Whistling_Duck_(Dendrocygna_javanica),_Singapore_-_20090426.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/20/Lesser_Whistling-ducks-_Resting_hidden_inside_the_foilage_I_IMG_0922.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/12/Lesser_Whistling-duck_(Dendrocygna_javanica)_in_Hyderabad_W_IMG_8457.jpg