ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกาเหว่า"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
 
+
[[ไฟล์:Eudynamys_scolopacea01.jpg|right]]
'''วงศ์''' : Eudynamys Vigors and Horsfield<br>
+
'''วงศ์''' : Corvinae<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Eudynamys scolopacea'' (Linnaeus) 1758.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Eudynamys scolopacea'' (Linnaeus) 1758.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Asian Koel<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Asian koel<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกดุเหว่า , Common Koel, Koel<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกดุเหว่า , Common koel , Koel<br><br>
  
 
นกกาเหว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Eudynamys scolopacea'' ชื่อชนิดมาจากชื่อสกุลของนกปากซ่อมดง Scolopax และ –aceus เป็นรากศัพท์ภาษาละตินแปลว่าคล้าย ความหมายคือ “ลักษณะคล้ายนกปากซ่อมดง” พบครั้งแรกที่ชายฝั่ง Malabar ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกาเหว่า 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Eudynamys scolopacea chinensis Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือที่เมืองกวางตุ้งประเทศจีน และ Eudynamys scolopacea malayana Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย  
 
นกกาเหว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Eudynamys scolopacea'' ชื่อชนิดมาจากชื่อสกุลของนกปากซ่อมดง Scolopax และ –aceus เป็นรากศัพท์ภาษาละตินแปลว่าคล้าย ความหมายคือ “ลักษณะคล้ายนกปากซ่อมดง” พบครั้งแรกที่ชายฝั่ง Malabar ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกาเหว่า 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Eudynamys scolopacea chinensis Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือที่เมืองกวางตุ้งประเทศจีน และ Eudynamys scolopacea malayana Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย  
แถว 21: แถว 21:
 
'''กฎหมาย''': จัดนกกาเหว่าทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''': จัดนกกาเหว่าทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
----
 
----
 +
[[ไฟล์:Eudynamys_scolopacea02.jpg]]  [[ไฟล์:Eudynamys_scolopacea03.jpg]]  [[ไฟล์:Eudynamys_scolopacea04.JPG]]
 +
----
 +
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4a/Asian_koel.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/cf/Asian_Koel_(Eudynamys_scolopacea)_eyeing_Ficus_religiosa_fig_W_IMG_8227.jpg<br>
 +
https://c1.staticflickr.com/1/212/452168657_11aa8d2d93_b.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Asiankoel1.JPG/972px-Asiankoel1.JPG<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 10:39, 25 มกราคม 2559

Eudynamys scolopacea01.jpg

วงศ์ : Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eudynamys scolopacea (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ : Asian koel
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกดุเหว่า , Common koel , Koel

นกกาเหว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eudynamys scolopacea ชื่อชนิดมาจากชื่อสกุลของนกปากซ่อมดง Scolopax และ –aceus เป็นรากศัพท์ภาษาละตินแปลว่าคล้าย ความหมายคือ “ลักษณะคล้ายนกปากซ่อมดง” พบครั้งแรกที่ชายฝั่ง Malabar ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกกาเหว่า 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Eudynamys scolopacea chinensis Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือที่เมืองกวางตุ้งประเทศจีน และ Eudynamys scolopacea malayana Cabanis and Heine ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน และออสเตรเลีย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (43 ซม.) เมื่อเปรียบเทียบกันนกคัดดูแซงแซว นกกาเหว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า และแตกต่างจากอีกาตรงที่ปากสีเขียวอ่อน ตาสีแดง ขาและนิ้วสีเทา ส่วนอีกามีปากตา ขาและนิ้วเป็นสีดำ นกกาเหว่ามีหางยาว ปีกสั้นปลายปีกมน ตัวผู้หัวและลำตัวทั้งหมดสีดำเป็นมันเหลือบสีน้ำเงิน ตัวเมียสีน้ำตาลเข้มมีลายจุดและลายขีดสีขาวและสีเนื้อทั่วร่างกาย

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าละเมาะสวนผลไม้ ที่กสิกรรม ป่าชายเลน และป่าโปร่ง ซึ่งไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก มักพบอยู่โดดเดี่ยว แต่ในฤดูผสมพันธุ์พบเป็นคู่ มันมักเกาะตามพุ่มไม้หรือกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ ทำให้สังเกตเห็นตัวได้ยาก นอกจากจะได้ยินเสียงร้อง หรือเมื่อมันบินออกมาจากพุ่มไม้นกกาเหว่าบินได้ดี เร็ว และตรง ลักษณะการกระพือปีกคล้ายเหยี่ยว ในฤดูผสมพันธุ์จะได้ยินเสียงมันร้องเป็นประจำ ส่วนใหญ่เป็นช่วงเช้าของแต่ละวัน ตัวผู้ร้องเป็น 2 พยางค์ “โก-เอว” หรือ “กา-เว้า” ดังกังวานได้ยินไปไกลมาก เมื่อนกตัวตัวหนึ่งร้อง ตัวอื่นจะร้องตอบการร้องเป็นการประกาศอาณาเขตที่ครอบครองและเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ส่วนตัวเมียจะร้อง “กิก-กิก-กิก-กิก” รัวและเร็ว มันมักร้องในขณะที่กระโดดไปตามกิ่งไม้ เป็นการร้องตอบการเกี้ยวพาราสีของตัวผู้ หรือร้องเพื่อหนีความก้าวร้าวของตัวผู้ อาหารนกกาเหว่ากินผลไม้เปลือกอ่อน โดยเฉพาะลูกโพธิ์ ไทร กร่าง และหว้า และผลไม้เปลือกแข็งบางอย่าง เช่น ลูกปาล์ม เป็นต้น นอกจากนี้มันยังกินตัวหนอนและแมลง รวมทั้งขโมยกินไข่ของนกขนาดเล็ก เช่น นกขมิ้นน้อย นกปรอด เป็นต้น

การผสมพันธุ์ : นกกาเหว่ามีฤดูผสมพันธุ์ช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อนระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคมนกกาเหว่าเป็นนกปรสิตเช่นเดียวกับนกคัดคู มันวางไข่ในรังของนกอื่น โดยเฉพาะอีกา ปกตินกกาเหว่าตัวเมียจะวางไข่ในตอนสายหลังจากที่อีกาออกไปหากินตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่แล้ว

ไข่ : ไข่ของนกกาเหว่ามีลักษณะคล้ายไข่อีกามาก แต่มีขนาดเล็กกว่า สีเทาแกมเขียว มีลายขีดหรือดอกดวงสีน้ำตาลแกมแดง มีขนาดเฉลี่ย 23.6x31.0 มม. ในรังอีกาอาจพบไข่นกกาเหว่าปะปนกับไข่ของอีกกามากถึง 11 ฟอง ซึ่งอาจเป็นไข่นกกาเหว่าหลายตัว ไม่เคยปรากฏว่ามีรังใดที่มีแต่ไข่ของนกกาเหว่าอย่างเดียว ปกติก่อนวางไข่นกกาเหว่าจะต้องทำลายไข่อีกาเสียก่อนแล้วจึงออกไข่ของต้นเองแทนที่ แต่บางรังมันก็วางไข่โดยไม่ทำลายไข่ของนกเจ้าของรัง เมื่อวางไข่แล้วมันจะทิ้งให้อีกาฟักไข่ ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 18-20 วัน ซึ่งเร็วกว่าไข่อีกา เมื่อลูกนกกาเหว่าออกจากไข่แล้ว พ่อแม่อีกาจะหาอาหารมาป้อนลูกนกกาเหว่าพร้อมกับฟักไข่ของมันเองด้วย จากการสังเกตพบว่าในช่างที่อีกาออกจากรังไปหาอาหาร นกกาเหว่าตัวเมียก็หาอาหารมาแอบป้อนลูกของตัวเองด้วย ซึ่งพฤติกรรมนี้แตกต่างจากนกคัดคูที่ไม่สนใจแม้กระทั่งไข่ของมันเองเมื่อลูกอีกาออกจากไข่แล้ว พ่อแม่อีกาต้องทำหน้าที่หนักขึ้น เพราะต้องหาอาหารมาป้อนลูกนกกาเหว่าและลูกของตัวเอง ลูกนกกาเหว่ามักไม่ทำร้ายลูกอีกาเนื่องจากแม่นกกาเหว่าช่วยหาอาหารมาป้อนด้วย ไม่เหมือนกับลูกนกคัดคูที่มักทำร้ายลูกนกเจ้าของรังหรืออาจเป็นเพราะลูกนกกาเหว่ามีขนาดเล็กกว่าลูกอีกานอกจากนี้นกกาเหว่ายังแอบไปขโมยวางไข่ในรังของนกหลายชนิด เช่น นกเอี้ยง นกกิ้งโครง เป็นต้น พฤติกรรมอาจแตกต่างจากการวางไข่ในรังอีกาโดยคล้ายกับนกคัดคูทั้งนี้เพราะนกกาเหว่ามีขนาดใหญ่กว่านกเจ้าของรัง

สถานภาพ : นกกาเหว่าเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย chinensis ในช่วงฤดูผสมพันธุ์พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนนอกฤดูผสมพันธุ์พบทั่วไปจนถึงจังหวัดตรัง ส่วนชนิดย่อย malayana พบทั่วไปทุกฤดูกาลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้

กฎหมาย: จัดนกกาเหว่าทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Eudynamys scolopacea02.jpg Eudynamys scolopacea03.jpg Eudynamys scolopacea04.JPG


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4a/Asian_koel.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/cf/Asian_Koel_(Eudynamys_scolopacea)_eyeing_Ficus_religiosa_fig_W_IMG_8227.jpg
https://c1.staticflickr.com/1/212/452168657_11aa8d2d93_b.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Asiankoel1.JPG/972px-Asiankoel1.JPG