ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกาแวน"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
 
+
[[File:Crypsirina temia01.jpg|right]]
 
'''วงศ์''' : Corvinae<br>
 
'''วงศ์''' : Corvinae<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Crypsirina temia'' (Daudin) 1800.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Crypsirina temia'' (Daudin) 1800.<br>
'''ชื่อสามัญ''' : Racket-tailed Treepie<br>
+
'''ชื่อสามัญ''' : Racket-tailed treepie<br>
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกาแวน , Black Racket-tailed Treepie , Bronzed Treepie<br><br>
+
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกาแวน , Black racket-tailed treepie , Bronzed treepie<br><br>
  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Crypsirina temia'' ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสคือ le Temia ซึ่งเป็นชื่อเรียกนกชนิดนี้โดยเฉพาะ ในภาษากรีก temei แปลว่าตัด temno แปลว่าถูกตัด อาจหมายถึงรูปร่างของหางของนกชนิดนี้ พบครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย  
 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Crypsirina temia'' ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสคือ le Temia ซึ่งเป็นชื่อเรียกนกชนิดนี้โดยเฉพาะ ในภาษากรีก temei แปลว่าตัด temno แปลว่าถูกตัด อาจหมายถึงรูปร่างของหางของนกชนิดนี้ พบครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย  

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 05:51, 29 ธันวาคม 2558

Crypsirina temia01.jpg

วงศ์ : Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crypsirina temia (Daudin) 1800.
ชื่อสามัญ : Racket-tailed treepie
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกาแวน , Black racket-tailed treepie , Bronzed treepie

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crypsirina temia ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสคือ le Temia ซึ่งเป็นชื่อเรียกนกชนิดนี้โดยเฉพาะ ในภาษากรีก temei แปลว่าตัด temno แปลว่าถูกตัด อาจหมายถึงรูปร่างของหางของนกชนิดนี้ พบครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย

กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก – กลาง (33 ซม. รวมหางซึ่งยาวกว่า 20 ซม.) แตกต่างจากพวกนกแซงแซวโดยที่ปากหนากว่า ตาสีน้ำเงิน สีสันของร่างกายเป็นสีดำเหลือบเขียว หางยาวกว่า

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่ารุ่น ป่าละเมาะ และทุ่งโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเลอาศัยและหากินตามกิ่งของต้นไม้ ไม้พุ่ม และยอดหญ้าไม่ลงมาบนพื้นดิน มักพบอยู่โดดเดี่ยว จากพฤติกรรมดังกล่าวและสีกลมกลืนกับธรรมชาติจึงทำให้มองไม่ค่อยเห็นตัว นอกจากได้ยินเสียงรัอง หรือช่วงที่กระโดดหรือบินจากกิ่งไม้หนึ่ง อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลง ตัวหนอน และสัตว์ขนาดเล็ก อาจกินผลไม้บางชนิดด้วย

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามพุ่มไม้ ต้นไม้ขนาดกลาง หรือกอไผ่ รังเป็นรูปถ้วยประกอบด้วยกิ่งไม้แห้ง รากไม้ และต้นหญ้า นำมาวางซ้อนกันตามง่าม ทำตรงกลางให้เป็นแอ่ง แล้วรองรังด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่ม เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หรือดอกหญ้า

ไข่ : รังมีไข่ 2-4 ฟอง ไข่สีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลเข้มโดยรอบไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 19.3X26.7 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อนใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่มาใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกายและยังช่วยเหลือตนเองไม้ได้ ใช้เวลาเลี้ยงลูก 20-25 วัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทั่วทุกภาค แต่หากและมีปริมาณน้อยทางภาคใต้ตอนล่าง

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง