ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกตะขาบทุ่ง"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Coracias Linnaeus <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Coracias benghalensis'' (Linnaeus) 1758.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Indian Roller<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Black-billed Roller,Northern Roller,Blue Jay<br><br>
 +
 +
นกตะขาบทุ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Coracias benghalensis'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกตะขาบทุ่ง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Coracias benghalensis affinis McClelland ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ affinis หรือ affini แปลว่าสัมพันธุ์หรือเกี่ยวข้องกัน ความหมายคือ “มีลักษณะไม่แตกต่างจากชนิดย่อยอื่น” พบครั้งแรกที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : ตั้งแต่ตะวันออกกลางจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (32-33 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกันขณะเกาะจะเห็นลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อกางปีกหรือบินจะเห็นปีกมีแถบสีน้ำเงินสด บริเวณหัวและหางเป็นสีฟ้าอมเขียว ปีกสีน้ำเงิน ลำตัวสีน้ำตาลบริเวณอกมีลายขีดเล็ก ๆ สีเขียวอมฟ้ากระจายห่าง ๆ
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ไร่ ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณเป็นต้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวัน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบเป็นฝูงนอกจากเป็นครอบครัว มักพบเกาะสายไฟฟ้าข้างถนนและตามกิ่งไม้แห้งหรือยอดไม้ บางครั้งพบกระโดดตามพื้นดิน บินได้ดี นกตะขาบทุ่งร้องเสียงดังกังวาน “ต้า-ต้า” ซ้ำกันหลายครั้ง แต่ละครั้งทิ้งช่วงห่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นการร้องเพื่อประกาศอาณาเขตและเกี้ยวพาราสี นกตะขาบทุ่งกินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก โดยเกาะตามสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้ ตาคอยจ้องหาเหยื่อตามพื้นดิน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินลงมาโฉบจับด้วยปากแล้วคาบขึ้นไปกินบริเวณที่เกาะเดิม ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะกลืนได้ทั้งตัว เช่น ปู กบ หนู มันจะใช้กรงเล็บช่วยจับ แล้วคาบไปฟาดกับที่เกาะ หรือฟาดกับพื้นจนเหยื่อตายก่อนฉีกกินเป็นชิ้น ๆ จากนั้นมันจะบินไปเกาะที่เดิมเพื่อคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป เกรียงไกร (2527) วิเคราะห์อาหารในกระเพาะพักของนกตะขาบทุ่ง พบว่าส่วนใหญ่ได้แก่ตัวอ่อนของเหลือบประมาณร้อยละ 29.58 ของปริมาณอาหารทั้งหมดรองลงมาได้แก่ ตั๊กแตนหนวดสั้น ประมาณร้อยละ 25.35 นอกจากนี้เป็นแมลงอีกหลายชนิด เช่น จิ้งหรีด แมลงกระชอน มวนแดง แมลงเหนี่ยง ด้วงดิน ด้วงดีด ด้วงงวง ผีเสื้อเจาะลำต้น และสัตว์อื่น ๆ เช่น คางคกบ้าน ตะขาบ ปู แมงมุม เป็นต้น
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัวผู้เกี้ยวพาราสีตัวเมียโดยบินไปเกาะข้าง ๆ แล้วส่งเสียงร้องจากนั้นจะบินขึ้นไปในอากาศเหนือที่เกาะข้างตัวเมียอีก หากตัวเมียไม่สนใจตัวเมียจะบินหนีไป แต่หากตัวเมียสนใจตัวเมียจะเกาะอยู่กับที่ ตัวผู้อาจทำเช่นเดิมซ้ำอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นจะผสมพันธุ์กัน ทั้งสองเพศช่วยกันหาสถานที่ทำรัง ซึ่งมักเป็นโพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือที่สัตว์อื่นทำไว้ บางครั้งทำรังบนตอไม้หรือต้นไม้ยอดด้วน เช่น ตอมะพร้าวที่ถูกด้วงเจาะ เป็นต้นปกตินกตะขาบทุ่งจะเลือกโพรงที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เมตร โพรงมีขนาดไม่แน่นอน จากนั้นพวกมันจะช่วยกันหาวัสดุ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า มารองรับไข่
 +
 +
'''ไข่''' : ของนกตะขาบทุ่งมีรูปร่างเกือบกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 27.6x33.5 มม. รังมีไข่ 4 ฟอง หายากที่มี 5 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 17-19 วัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 18 วัน ลูกนกแรกเกิดมีความยาวประมาณ 8 ซม. ยังไม่ลืมตา มีรูปร่างเทอะทะ ตาโต ท้องป่อง และไม่มีขนปกคลุมลำตัว เมื่ออายุ 3-4 วันจะมีตุ่มขนขึ้นตามผิวหนังทำให้ผิวดูเป็นสีดำมากขึ้น ในช่วงแรกนี้ลูกนกยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกและอาหารมาป้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวหนอนและแมลง ลูกนกอายุ 3-4 สัปดาห์จะแข็งแรงและบินได้ จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง ลูกนกอายุ 1 ปีจะเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธุ์ได้
 +
 +
'''สถานภาพ''' : นกตะขาบทุ่งเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค
 +
 +
'''กฎหมาย''' :จัดนกตะขาบทุ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:00, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Coracias Linnaeus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coracias benghalensis (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ : Indian Roller
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-billed Roller,Northern Roller,Blue Jay

นกตะขาบทุ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coracias benghalensis ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกตะขาบทุ่ง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Coracias benghalensis affinis McClelland ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ affinis หรือ affini แปลว่าสัมพันธุ์หรือเกี่ยวข้องกัน ความหมายคือ “มีลักษณะไม่แตกต่างจากชนิดย่อยอื่น” พบครั้งแรกที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่ตะวันออกกลางจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (32-33 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกันขณะเกาะจะเห็นลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อกางปีกหรือบินจะเห็นปีกมีแถบสีน้ำเงินสด บริเวณหัวและหางเป็นสีฟ้าอมเขียว ปีกสีน้ำเงิน ลำตัวสีน้ำตาลบริเวณอกมีลายขีดเล็ก ๆ สีเขียวอมฟ้ากระจายห่าง ๆ

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ไร่ ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณเป็นต้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวัน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบเป็นฝูงนอกจากเป็นครอบครัว มักพบเกาะสายไฟฟ้าข้างถนนและตามกิ่งไม้แห้งหรือยอดไม้ บางครั้งพบกระโดดตามพื้นดิน บินได้ดี นกตะขาบทุ่งร้องเสียงดังกังวาน “ต้า-ต้า” ซ้ำกันหลายครั้ง แต่ละครั้งทิ้งช่วงห่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นการร้องเพื่อประกาศอาณาเขตและเกี้ยวพาราสี นกตะขาบทุ่งกินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก โดยเกาะตามสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้ ตาคอยจ้องหาเหยื่อตามพื้นดิน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินลงมาโฉบจับด้วยปากแล้วคาบขึ้นไปกินบริเวณที่เกาะเดิม ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะกลืนได้ทั้งตัว เช่น ปู กบ หนู มันจะใช้กรงเล็บช่วยจับ แล้วคาบไปฟาดกับที่เกาะ หรือฟาดกับพื้นจนเหยื่อตายก่อนฉีกกินเป็นชิ้น ๆ จากนั้นมันจะบินไปเกาะที่เดิมเพื่อคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป เกรียงไกร (2527) วิเคราะห์อาหารในกระเพาะพักของนกตะขาบทุ่ง พบว่าส่วนใหญ่ได้แก่ตัวอ่อนของเหลือบประมาณร้อยละ 29.58 ของปริมาณอาหารทั้งหมดรองลงมาได้แก่ ตั๊กแตนหนวดสั้น ประมาณร้อยละ 25.35 นอกจากนี้เป็นแมลงอีกหลายชนิด เช่น จิ้งหรีด แมลงกระชอน มวนแดง แมลงเหนี่ยง ด้วงดิน ด้วงดีด ด้วงงวง ผีเสื้อเจาะลำต้น และสัตว์อื่น ๆ เช่น คางคกบ้าน ตะขาบ ปู แมงมุม เป็นต้น

การผสมพันธุ์ : นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัวผู้เกี้ยวพาราสีตัวเมียโดยบินไปเกาะข้าง ๆ แล้วส่งเสียงร้องจากนั้นจะบินขึ้นไปในอากาศเหนือที่เกาะข้างตัวเมียอีก หากตัวเมียไม่สนใจตัวเมียจะบินหนีไป แต่หากตัวเมียสนใจตัวเมียจะเกาะอยู่กับที่ ตัวผู้อาจทำเช่นเดิมซ้ำอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นจะผสมพันธุ์กัน ทั้งสองเพศช่วยกันหาสถานที่ทำรัง ซึ่งมักเป็นโพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือที่สัตว์อื่นทำไว้ บางครั้งทำรังบนตอไม้หรือต้นไม้ยอดด้วน เช่น ตอมะพร้าวที่ถูกด้วงเจาะ เป็นต้นปกตินกตะขาบทุ่งจะเลือกโพรงที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เมตร โพรงมีขนาดไม่แน่นอน จากนั้นพวกมันจะช่วยกันหาวัสดุ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า มารองรับไข่

ไข่ : ของนกตะขาบทุ่งมีรูปร่างเกือบกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 27.6x33.5 มม. รังมีไข่ 4 ฟอง หายากที่มี 5 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 17-19 วัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 18 วัน ลูกนกแรกเกิดมีความยาวประมาณ 8 ซม. ยังไม่ลืมตา มีรูปร่างเทอะทะ ตาโต ท้องป่อง และไม่มีขนปกคลุมลำตัว เมื่ออายุ 3-4 วันจะมีตุ่มขนขึ้นตามผิวหนังทำให้ผิวดูเป็นสีดำมากขึ้น ในช่วงแรกนี้ลูกนกยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกและอาหารมาป้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวหนอนและแมลง ลูกนกอายุ 3-4 สัปดาห์จะแข็งแรงและบินได้ จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง ลูกนกอายุ 1 ปีจะเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธุ์ได้

สถานภาพ : นกตะขาบทุ่งเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค

กฎหมาย :จัดนกตะขาบทุ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง