ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดคอลาย"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Pycnonotus Boie <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pyenonotus finlaysoni'' (Strickland), 1844.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Stripe-throated Bulbul<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : - <br><br>
 +
 +
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pycnonotus finlaysoni''  ชื่อชนิดมาจากชื่อบุคคลคือ George Finlayson (ค.ศ.1790-1823) นักธรรมชาติวิทยาและศัลยแพทย์ชาวสกอตแลนด์  พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย  ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย  ประเทศได้พบ 2 ชนิดย่อย  คือ Pycnonotus finlaysoni finlaysoni Strickland  ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด  และ Pycnonotus finlaysoni eous Riley  ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ eos แปลว่าเช้าตรู่หรือทิศตะวันออก  ความหมายคือ "นกที่พบทางด้านทิศตะวันออก"  พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานที่พบนกต้นแบบ
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : ในจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) แตกต่างจากนกปรอดอื่นตรงที่มีลายขีดสีเหลืองกระจายบริเวณหน้าผาก ใบหน้า และคอหอย  ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมน้ำตาล  ท้องตอนหน้าสีขาวแกมสีเทา  ท้องทางด้านท้ายและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น ป่าโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจรกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล  มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ  พบเป็นประจำบริเวณไม้พุ่ม ไม้พื้นล่าง หรือลูกไม้  บางครั้งพบตามยอดไม้ที่ค่อนข้างสูง  อาหารได้แก่ ผลไม้ เมล็ดของไม้ต้น ตัวหนอน และแมลง  พฤติกรรมกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดอื่น
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน  ส่วนใหญ่ทำรังตามพุ่มไม้ กิ่งของต้นไม้ใหญ่ หรือเถาวัลย์ ซึ่งสูงจากพื้นดินไม่มากนัก ราว 0.6-4.5 เมตร  ไกรรัตน์ (2539) ศึกษารังของนกปรอดคอลายในป่าดงดิบแล้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พบว่า รังเป็นรูปถ้วย มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 8.00 ภายนอก 9.15 ซม.  รังประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ เส้นกลางของใบไม้และใบหญ้า นำมาสานหรือขัดกันหยาบ ๆ สามารถมองทะลุพื้นรังได้ แล้วเชื่อมวัสดุให้ติดกันด้วยใยแมงมุมโดยเฉพาะบริเวณขอบรัง ทำแอ่งตรงกลาง จากนั้นรองรังด้วยรากไม้หรือเถาวัลย์ที่ละเอียด  รังมีไข่ 2 ฟอง 
 +
 +
'''ไข่''' : สีครีม มีลายสีออกแดงและสีเทา  ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 20.8x15.7 มม.  ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน  เริ่มฟักตั้งแต่วางไข่ฟองแรก  ใช้ระยะเวลาฟักไข่ 13-14 วัน  ลูกนกอายุ 12-13 วันจะบินได้และทิ้งรังไป
 +
 +
'''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น  พบบ่อยและปริมาณปานลาง  ชนิดย่อย eous พบทางภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตก  ชนิดย่อย finlaysoni พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:02, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Pycnonotus Boie
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pyenonotus finlaysoni (Strickland), 1844.
ชื่อสามัญ : Stripe-throated Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus finlaysoni ชื่อชนิดมาจากชื่อบุคคลคือ George Finlayson (ค.ศ.1790-1823) นักธรรมชาติวิทยาและศัลยแพทย์ชาวสกอตแลนด์ พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศได้พบ 2 ชนิดย่อย คือ Pycnonotus finlaysoni finlaysoni Strickland ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด และ Pycnonotus finlaysoni eous Riley ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ eos แปลว่าเช้าตรู่หรือทิศตะวันออก ความหมายคือ "นกที่พบทางด้านทิศตะวันออก" พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานที่พบนกต้นแบบ

กระจายพันธุ์ : ในจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) แตกต่างจากนกปรอดอื่นตรงที่มีลายขีดสีเหลืองกระจายบริเวณหน้าผาก ใบหน้า และคอหอย ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมน้ำตาล ท้องตอนหน้าสีขาวแกมสีเทา ท้องทางด้านท้ายและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น ป่าโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจรกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ พบเป็นประจำบริเวณไม้พุ่ม ไม้พื้นล่าง หรือลูกไม้ บางครั้งพบตามยอดไม้ที่ค่อนข้างสูง อาหารได้แก่ ผลไม้ เมล็ดของไม้ต้น ตัวหนอน และแมลง พฤติกรรมกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดอื่น

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ส่วนใหญ่ทำรังตามพุ่มไม้ กิ่งของต้นไม้ใหญ่ หรือเถาวัลย์ ซึ่งสูงจากพื้นดินไม่มากนัก ราว 0.6-4.5 เมตร ไกรรัตน์ (2539) ศึกษารังของนกปรอดคอลายในป่าดงดิบแล้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พบว่า รังเป็นรูปถ้วย มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 8.00 ภายนอก 9.15 ซม. รังประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ เส้นกลางของใบไม้และใบหญ้า นำมาสานหรือขัดกันหยาบ ๆ สามารถมองทะลุพื้นรังได้ แล้วเชื่อมวัสดุให้ติดกันด้วยใยแมงมุมโดยเฉพาะบริเวณขอบรัง ทำแอ่งตรงกลาง จากนั้นรองรังด้วยรากไม้หรือเถาวัลย์ที่ละเอียด รังมีไข่ 2 ฟอง

ไข่ : สีครีม มีลายสีออกแดงและสีเทา ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 20.8x15.7 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน เริ่มฟักตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ใช้ระยะเวลาฟักไข่ 13-14 วัน ลูกนกอายุ 12-13 วันจะบินได้และทิ้งรังไป

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานลาง ชนิดย่อย eous พบทางภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตก ชนิดย่อย finlaysoni พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง