ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดหน้านวล"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 1: แถว 1:
 
+
[[ไฟล์:Pycnonotus_goiavier01.jpg|right]]
 
'''วงศ์''' : Pycnonotidae <br>
 
'''วงศ์''' : Pycnonotidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus goiavier'' (Scopoli) 1786.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus goiavier'' (Scopoli) 1786.<br>
แถว 21: แถว 21:
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
----
 
----
 +
[[ไฟล์:Pycnonotus_goiavier02.jpg]]  [[ไฟล์:Pycnonotus_goiavier03.jpg]]  [[ไฟล์:Pycnonotus_goiavier04.jpg]] 
 +
----
 +
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/22/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(7).jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3a/Pycnonotus_goiavier_1.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/52/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(1).jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d9/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(4).jpg<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 13:51, 25 มกราคม 2559

Pycnonotus goiavier01.jpg

วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus goiavier (Scopoli) 1786.
ชื่อสามัญ : Yellow-vented bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus goiavier ยังไม่ทราบที่มาและความหมายของชื่อชนิดแน่ชัด อาจมาจากคำในภาษาทมิฬ (ศรีลังกา) คือ kuruvi ซึ่งเป็นคำรวมเรียกนกขนาดเล็กต่าง ๆ รวมทั้งนกปรอดและนกจับแมลง พบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมี 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus goiavier jambu Deignan ชื่อชนิดมาจากภาษาสันสกฤตคือ jambu แปลว่าต้นชมพู่ ความหมายคือ “นกที่กินผลไม้” พบครั้งแรกที่จังหวัดสมุทรสาคร และ Pycnonotus goiavier personata (Hume) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ =persona, -t แปลว่าหน้ากาก และ –tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “มีลายบริเวณใบหน้า” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) ตัวเต็มวัยลำตัวด้านบนสีน้ำตาล กระหม่อมและหัวตาสีดำ มีคิ้วกว้างสีขาว ลำตัวด้านล่างสีขาว อกมีสีน้ำตาลแซมขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองแกมเขียว หางไม่มีสีขาว ตัวม่เต็มวัยคิ้วสีออกเทา

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามแหล่งกสิกรรม ป่าละเมาะ สวนปาล์มน้ำมัน ป่ารุ่น และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณใกล้แหล่งน้ำจืดและชายทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ และมักพบอยู่รวมกับนกปรอดอื่นโดยเฉพาะนกปรอดสวน อาศัยและหากินตามต้นไม้ระดับสูงและพุ่มไม้ระดับต่ำ และปรากฏเสมอที่ลงมาหากินตามพื้นดิน อาหารได้แก่ ผลไม้ ตัวหนอน และแมลงต่าง ๆ พฤติกรรมการกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดอื่น นอกจากบางครั้งที่กระโดดไล่จับแมลงบนพื้นดิน ซึ่งไม่ค่อยปรากฏในนกปรอดอื่น ๆ

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน รังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยต้นหญ้า เศษใบไม้ ทำรังตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือตามต้นวัชพืชบางชนิด เช่น สาบเสือ เป็นต้น รังอยู่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก ราว 1.2-3.0 เมตร รังกว้างประมาณ 6 ซม. ลึกประมาณ 2.5 ซม. รังมีไข่ 2-3 ฟอง

ไข่ : สีเนื้อ มีลายจุดสีน้ำตาลแดง ขนาดของไข่เฉลี่ย 16.0x23.0 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน เริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้ระยะเวลาฟักไข่ 13-14 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมลำตัว ในระยะแรกพ่อแม่จะนำตัวหนอนหรือแมลงมาป้อน เมื่อลูกนกโตพอประมาณจึงจะป้อนผลไม้ซึ่งเป็นอาหารตามปกติของพ่อแม่ อายุ 14-15 วันจะบินได้และทิ้งรังไป

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย jambu พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคกลาง ชนิดย่อย personata พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Pycnonotus goiavier02.jpg Pycnonotus goiavier03.jpg Pycnonotus goiavier04.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/22/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(7).jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3a/Pycnonotus_goiavier_1.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/52/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(1).jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d9/Yellow-vented_Bulbul_(Pycnonotus_goiavier)_-_Flickr_-_Lip_Kee_(4).jpg