ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกยางโทนใหญ่"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Casmerodius Gloger <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Casmerodius albus'' (Linnaeus) 1758. <br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Great Egret <br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Large Egret , Common Egret , Great White Egret , White Egret <br> <br>
 +
 +
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Casmerodius albus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ alb, -I, -id หรือ albus แปลว่าสีขาว ความหมายคือ “นกยางที่มีสีขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Casmerodius albusmodestus (J.E. Gray) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ modestus  หรือ modest ซึ่งแปลว่าทุ่งราบ ความหมายคือ “นกยางสีขาวที่พบตามทุ่งราบ” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : เกือบทั่วโลก ในทวีปเอเชียพบในอินเดีย พม่า ไทย จีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดใหญ่ (87 – 90 ซม.) จัดเป็นนกยางสีขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปากยาวตรงลำคอยาวมาก ขณะหันคอไปทางด้านข้างหรือด้านหลังเพื่อหาอาหาร บริเวณตรงกลางคอมักขมวดเป็นปม ปีกยาวประมาณ 33.7 ซม. ปลายปีกมน ขาค่อนข้างยาวนิ้วยาว ขนปกคลุมลำตัวทั้งหมดเป็นสีขาว ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง ปลายปากสีเทาเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีสีเหลืองแกมเขียว แข้งและนิ้วสีดำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ บางตัวบริเวณโคนเป็นสีเหลือง ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีน้ำเงินหรือน้ำแกมเขียว แข้งอาจเปลี่ยนเป็นสีแดง บางตัวเป็นสีเขียวมีขนละเอียดสีขาวแตกเป็นฝอยตั้งแต่บริเวณกลางหนังจนถึงตะโพก ขนนี้จะหลุดร่วงไปเมื่อสิ้นสุดฤดูผสมพันธุ์ และจะไม่ปรากฏในนกตัวไม่เต็มวัยไม่ว่าจะเป็นฤดูใดก็ตาม
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : หากินในเวลากลางวันตามแหล่งน้ำทั่วไป เช่น บึง หนอง ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น และบริเวณชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยว จึงได้ชื่อว่า “นกยางโทน” ซึ่งหมายถึงตัวเดียว แต่ก็พบมันหากินรวมกันเป็นฝูงบ่อยครั้งมาก มันสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดี และบินได้เร็วพอประมาณ ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอส ขาเหยียดตรงพ้นปลายหาง
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำรังเป็นกลุ่มตามต้นไม้ และอาจอยู่รวมกับนกหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกยางควาย นกยางเปีย นกแขวก นกกระสาแดง เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรังโดยนำกิ่งไม้หรือกิ่งไผ่มาซ้อนกันหลายชั้น แล้วทำแอ่งตรงกลาง อาจมีใบหญ้าหรือใบไม้สดวางในแอ่งเพื่อรองรับไข่ ในช่วงแรกรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 60 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบใน 30 – 40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 15 – 20 ซม. ต่อมารังอาจหนาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมันจะเสริมรังเมื่อวัสดุเก่าผุพังลงหรือเมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น
 +
 +
'''ไข่''' : เป็นรูปรี สีเขียวอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีผงสีขาวคล้ายผงชอล์กปกคลุมเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 42.4 x 60.3 มม. รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 25 – 28 วัน ลูกนกจะเจาะเปลือกไข่ออกมาเองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ ลูกนกแรกเกิดมีรูปร่างเทอะทะ หัวและท้องใหญ่ ลำตัวด้านบนมีขนอุยเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนอุยเป็นสีน้ำตาล เมื่อลูกนกอายุได้ 2 – 3 สัปดาห์ จะเริ่มมีขนขึ้นตามลำตัว ยกเว้นลำตัวด้านล่าง อายุ 5 – 6 สัปดาห์มีขนเต็มตัว สีสันคล้ายตัวเต็มวัย ปากเป็นสีเหลืองซีด ขาเป็นสีเทา อายุ 7 – 8 สัปดาห์ลูกนกจะบินได้แข็งแรง บางตัวสามารถแยกจากพ่อแม่ไปหากินเองได้
 +
 +
'''ลูกนก''' : ลูกนกแรกเกิดยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยเหลือด้วยการกก ป้องกันอันตราย และหาอาหารมาป้อน พ่อแม่จะป้อนอาหารด้วยการสำรอกอาหารที่ย่อยบางส่วนใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอาหารเหมือนจะงับปากพ่อแม่ เมื่อลูกนกโตพอประมาณ พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกันเอง พ่อแม่จะคอยผลัดเปลี่ยนกันไปหาอาหารมาป้อนลูกนกโดยขณะที่ตัวใดตัวหนึ่งไปหาอาหาร อีกตัวหนึ่งจะอยู่ในรังกกลูกและคอยป้องกันอันตรายจากศัตรู ซึ่งอาจเป็นนกหรือสัตว์อื่น เช่น อีกา เหยี่ยว ตะกวด เป็นต้น
 +
 +
'''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค และอาจมีบางส่วนเป็นนกอพยพมาในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในช่วงนี้จะพบได้บ่อยและปริมาณมากขึ้น
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดนกยางโทนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:07, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Casmerodius Gloger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casmerodius albus (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ : Great Egret
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Large Egret , Common Egret , Great White Egret , White Egret

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Casmerodius albus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ alb, -I, -id หรือ albus แปลว่าสีขาว ความหมายคือ “นกยางที่มีสีขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Casmerodius albusmodestus (J.E. Gray) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ modestus หรือ modest ซึ่งแปลว่าทุ่งราบ ความหมายคือ “นกยางสีขาวที่พบตามทุ่งราบ” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ : เกือบทั่วโลก ในทวีปเอเชียพบในอินเดีย พม่า ไทย จีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่ (87 – 90 ซม.) จัดเป็นนกยางสีขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปากยาวตรงลำคอยาวมาก ขณะหันคอไปทางด้านข้างหรือด้านหลังเพื่อหาอาหาร บริเวณตรงกลางคอมักขมวดเป็นปม ปีกยาวประมาณ 33.7 ซม. ปลายปีกมน ขาค่อนข้างยาวนิ้วยาว ขนปกคลุมลำตัวทั้งหมดเป็นสีขาว ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง ปลายปากสีเทาเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีสีเหลืองแกมเขียว แข้งและนิ้วสีดำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ บางตัวบริเวณโคนเป็นสีเหลือง ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีน้ำเงินหรือน้ำแกมเขียว แข้งอาจเปลี่ยนเป็นสีแดง บางตัวเป็นสีเขียวมีขนละเอียดสีขาวแตกเป็นฝอยตั้งแต่บริเวณกลางหนังจนถึงตะโพก ขนนี้จะหลุดร่วงไปเมื่อสิ้นสุดฤดูผสมพันธุ์ และจะไม่ปรากฏในนกตัวไม่เต็มวัยไม่ว่าจะเป็นฤดูใดก็ตาม

อุปนิสัยและอาหาร : หากินในเวลากลางวันตามแหล่งน้ำทั่วไป เช่น บึง หนอง ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น และบริเวณชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยว จึงได้ชื่อว่า “นกยางโทน” ซึ่งหมายถึงตัวเดียว แต่ก็พบมันหากินรวมกันเป็นฝูงบ่อยครั้งมาก มันสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดี และบินได้เร็วพอประมาณ ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอส ขาเหยียดตรงพ้นปลายหาง

การผสมพันธุ์ : นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำรังเป็นกลุ่มตามต้นไม้ และอาจอยู่รวมกับนกหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกยางควาย นกยางเปีย นกแขวก นกกระสาแดง เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรังโดยนำกิ่งไม้หรือกิ่งไผ่มาซ้อนกันหลายชั้น แล้วทำแอ่งตรงกลาง อาจมีใบหญ้าหรือใบไม้สดวางในแอ่งเพื่อรองรับไข่ ในช่วงแรกรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 60 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบใน 30 – 40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 15 – 20 ซม. ต่อมารังอาจหนาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมันจะเสริมรังเมื่อวัสดุเก่าผุพังลงหรือเมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น

ไข่ : เป็นรูปรี สีเขียวอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีผงสีขาวคล้ายผงชอล์กปกคลุมเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 42.4 x 60.3 มม. รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 25 – 28 วัน ลูกนกจะเจาะเปลือกไข่ออกมาเองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ ลูกนกแรกเกิดมีรูปร่างเทอะทะ หัวและท้องใหญ่ ลำตัวด้านบนมีขนอุยเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนอุยเป็นสีน้ำตาล เมื่อลูกนกอายุได้ 2 – 3 สัปดาห์ จะเริ่มมีขนขึ้นตามลำตัว ยกเว้นลำตัวด้านล่าง อายุ 5 – 6 สัปดาห์มีขนเต็มตัว สีสันคล้ายตัวเต็มวัย ปากเป็นสีเหลืองซีด ขาเป็นสีเทา อายุ 7 – 8 สัปดาห์ลูกนกจะบินได้แข็งแรง บางตัวสามารถแยกจากพ่อแม่ไปหากินเองได้

ลูกนก : ลูกนกแรกเกิดยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยเหลือด้วยการกก ป้องกันอันตราย และหาอาหารมาป้อน พ่อแม่จะป้อนอาหารด้วยการสำรอกอาหารที่ย่อยบางส่วนใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอาหารเหมือนจะงับปากพ่อแม่ เมื่อลูกนกโตพอประมาณ พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกันเอง พ่อแม่จะคอยผลัดเปลี่ยนกันไปหาอาหารมาป้อนลูกนกโดยขณะที่ตัวใดตัวหนึ่งไปหาอาหาร อีกตัวหนึ่งจะอยู่ในรังกกลูกและคอยป้องกันอันตรายจากศัตรู ซึ่งอาจเป็นนกหรือสัตว์อื่น เช่น อีกา เหยี่ยว ตะกวด เป็นต้น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค และอาจมีบางส่วนเป็นนกอพยพมาในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในช่วงนี้จะพบได้บ่อยและปริมาณมากขึ้น

กฎหมาย : จัดนกยางโทนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง