ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานเขียวคอเขียว"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Picus Linnaeus<br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Picus viridanus'' (Blyth), 1843.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Streak-breasted Woodpecker<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Streak-breasted Green Woodpecker , Burmese Scaly-bellied Woodpecker<br><br>
 +
 +
นกหัวขวานเขียวคอเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Picus viridanus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid,-esc หรือ viridans แปลว่าสีเขียว และ –anus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า แต่เดิมจัดนกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นชนิดย่อยหนึ่งของนกหัวขวานเขียวป่าไผ่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picus vittatus viridanus Blyth ในหนังสือเล่มนี้จัดเป็นชนิด
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : นกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในพม่า ไทย และมาเลเซีย
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับนกหัวขวานเขียวป่าไผ่ จะต่างกันตรงที่นกหัวขวานเขียวคอเขียวบริเวณคอหอยเป็นสีเขียวมีลายขีดสีขาว จากอกถึงท้องเป็นสีเขียวลายเกล็ด บริเวณแก้มสีเทามีลายขีดสีขาวและมีแถบสีดำเด่นชัด ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยสีแดง ตัวเมียกระหม่อมและท้ายทอยสีดำ
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าพรุ ป่าดงดิบชื้น และป่าในระดับต่ำ อาจพบในป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าแคระบบเกาะในทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หากินตามพื้นดิน บนต้นไม้ หรือตามก้อนหินที่มีมอสปกคลุม อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ปลวก ตัวหนอน หรือตัวอ่อนของด้วงที่เจาะไม้ และแมลงอื่น ๆ อุปนิสัยไม่แตกต่างไปจากนกหัวขวานเขียวป่าไผ่และนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : นกหัวขวานเขียวคอเขียวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังตามโพรงของต้นไม้เนื้ออ่อนหรือแข็งปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นโพรงที่มันใช้ปากขุดเจาะเองทั้งสองเพศช่วยกันขุดโพรง ฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างไปจากนกหัวขวานเขียวป่าไผ่และนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน
 +
 +
'''สถานภาพ''' : นกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักพบทางภาคใต้และบางแห่งของภาคตะวันตก
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดนกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:10, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Picus Linnaeus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Picus viridanus (Blyth), 1843.
ชื่อสามัญ : Streak-breasted Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Streak-breasted Green Woodpecker , Burmese Scaly-bellied Woodpecker

นกหัวขวานเขียวคอเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picus viridanus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid,-esc หรือ viridans แปลว่าสีเขียว และ –anus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า แต่เดิมจัดนกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นชนิดย่อยหนึ่งของนกหัวขวานเขียวป่าไผ่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picus vittatus viridanus Blyth ในหนังสือเล่มนี้จัดเป็นชนิด

กระจายพันธุ์ : นกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในพม่า ไทย และมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับนกหัวขวานเขียวป่าไผ่ จะต่างกันตรงที่นกหัวขวานเขียวคอเขียวบริเวณคอหอยเป็นสีเขียวมีลายขีดสีขาว จากอกถึงท้องเป็นสีเขียวลายเกล็ด บริเวณแก้มสีเทามีลายขีดสีขาวและมีแถบสีดำเด่นชัด ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยสีแดง ตัวเมียกระหม่อมและท้ายทอยสีดำ

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าพรุ ป่าดงดิบชื้น และป่าในระดับต่ำ อาจพบในป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าแคระบบเกาะในทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หากินตามพื้นดิน บนต้นไม้ หรือตามก้อนหินที่มีมอสปกคลุม อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ปลวก ตัวหนอน หรือตัวอ่อนของด้วงที่เจาะไม้ และแมลงอื่น ๆ อุปนิสัยไม่แตกต่างไปจากนกหัวขวานเขียวป่าไผ่และนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานเขียวคอเขียวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังตามโพรงของต้นไม้เนื้ออ่อนหรือแข็งปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นโพรงที่มันใช้ปากขุดเจาะเองทั้งสองเพศช่วยกันขุดโพรง ฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างไปจากนกหัวขวานเขียวป่าไผ่และนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน

สถานภาพ : นกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักพบทางภาคใต้และบางแห่งของภาคตะวันตก

กฎหมาย : จัดนกหัวขวานเขียวคอเขียวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง