ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานแดงลาย"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Picus Linnaeus <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Picus mineaceus'' (Pennant), 1769.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Banded Woodpecker<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Banded Red Woodpecker<br><br>
 +
 +
นกหัวขวานแดงลายมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Picus mineaceus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ mini,-a,=um แปลว่าตะกั่วแดง และ –aceus เป็นคำลงท้าย แปลว่าเป็นของ ความหมายคือ “นกที่มีสีแดง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานแดงลาย 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Picus mineaceus perlutus (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ perl,=a แปลว่าไข่มุก และ –tus เป็นคำลงท้ายในภาษาละติน ความหมายคือ “นกที่มีลายจุดสีขาวคล้ายไข่มุก” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ Picus mineaceus malaccensis Latham ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐมะละกา (Malacca) ประเทศมาเลเซีย
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยมีพุ่มหงอนขนสีแดง ปลายพุ่มหงอนขนเป็นสีเหลือง บริเวณด้านข้างของหัวเป็นสีแดง หลังและช่วงไหล่เป็นลายสีเขียวแกมน้ำตาลสลับสีอ่อนกับสีเข้ม ปีกสีแดง อกและคอหอยสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างเป็นลายสีน้ำตาลแกมเขียว ตัวเมียบริเวณด้านข้างของหัวไม่มีสีแดง ตัวไม่เต็มวัยกระหม่อมมีสีแดง ไม่มีพุ่มหงอนขน ถ้ามีก็จะไม่มีสีเหลือง
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ ป่ารุ่น สวนป่า และสวนยางพารา ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามลำต้นและกิ่งไม้ใหญ่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นดินอย่างนกหัวขวานเขียว อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ปลวก ไข่และตัวหนอนของแมลง อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : นกหัวขวานแดงลายผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งสองเพศจะช่วยกันขุดโพรงทำรังตามต้นไม้เนื้ออ่อน รวมทั้งต้นยางพารา หรือตามไม้ยืนต้นตายที่ค่อนข้างผุ ไข่สีขาวและมีขนาดเล็กกว่าไข่ของนกหัวขวานเล็กหงอนเหลืองเล็กน้อย ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง
 +
 +
'''สถานภาพ''' : นกหัวขวานแดงลายเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย perlutus พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงคอคอดกระ ชนิดย่อย malaccensis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงใต้สุดของประเทศ
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดนกหัวขวานแดงลายทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:11, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Picus Linnaeus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Picus mineaceus (Pennant), 1769.
ชื่อสามัญ : Banded Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Banded Red Woodpecker

นกหัวขวานแดงลายมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picus mineaceus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ mini,-a,=um แปลว่าตะกั่วแดง และ –aceus เป็นคำลงท้าย แปลว่าเป็นของ ความหมายคือ “นกที่มีสีแดง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานแดงลาย 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Picus mineaceus perlutus (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ perl,=a แปลว่าไข่มุก และ –tus เป็นคำลงท้ายในภาษาละติน ความหมายคือ “นกที่มีลายจุดสีขาวคล้ายไข่มุก” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ Picus mineaceus malaccensis Latham ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐมะละกา (Malacca) ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยมีพุ่มหงอนขนสีแดง ปลายพุ่มหงอนขนเป็นสีเหลือง บริเวณด้านข้างของหัวเป็นสีแดง หลังและช่วงไหล่เป็นลายสีเขียวแกมน้ำตาลสลับสีอ่อนกับสีเข้ม ปีกสีแดง อกและคอหอยสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างเป็นลายสีน้ำตาลแกมเขียว ตัวเมียบริเวณด้านข้างของหัวไม่มีสีแดง ตัวไม่เต็มวัยกระหม่อมมีสีแดง ไม่มีพุ่มหงอนขน ถ้ามีก็จะไม่มีสีเหลือง

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ ป่ารุ่น สวนป่า และสวนยางพารา ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามลำต้นและกิ่งไม้ใหญ่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นดินอย่างนกหัวขวานเขียว อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ปลวก ไข่และตัวหนอนของแมลง อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานแดงลายผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งสองเพศจะช่วยกันขุดโพรงทำรังตามต้นไม้เนื้ออ่อน รวมทั้งต้นยางพารา หรือตามไม้ยืนต้นตายที่ค่อนข้างผุ ไข่สีขาวและมีขนาดเล็กกว่าไข่ของนกหัวขวานเล็กหงอนเหลืองเล็กน้อย ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง

สถานภาพ : นกหัวขวานแดงลายเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย perlutus พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงคอคอดกระ ชนิดย่อย malaccensis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงใต้สุดของประเทศ

กฎหมาย : จัดนกหัวขวานแดงลายทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง