ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเปล้าคอสีม่วง"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
แถว 1: แถว 1:
  
 +
'''วงศ์''' : Treron Vieillot <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Treron vernans'' (Linnaeus) 1771.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Pink-necked Green Pigeon<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Pink-necked Pigeon<br><br>
 +
 +
นกเปล้าคอสีม่วงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Treron vernans'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ vern, -a หรือ vernans แปลว่าฤดูใบไม้ผลิหรือสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมีนกเปล้าคอสีม่วง 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Treron vernans griseicapilla Schlegel ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ grise หรือ griseus แปลว่าสีเทา และ capill, -a หรือ capillus แปลว่าหัว ชื่อชนิดย่อยจึงหมายถึง “นกที่มีหัวสีเทา” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : ในพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (24-25 ซม.) แตกต่างจากนกเปล้าเล็กหัวเทาและนกเปล้าอกสีม่วงน้ำตาลตรงที่หางสีเทา ใกล้ปลายหางมีแถบสีดำ ปลายหางสีเทา นกเปล้าคอสีม่วงตัวผู้หัวและคอหอยสีเทาปากสีน้ำเงินจาง คอและอกตอนบนสีม่วงแกมชมพู อกตอนล่างสีส้ม หลังและตะโพกสีเขียว ช่วงไหล่สีเขียวปีกสีเขียวมีแถบสีเหลืองอมเขียว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดงแกมน้ำตาลเข้ม ท้องสีเขียวอมเหลืองต้นขามีลายสีเขียวเข้ม ขาและนิ้วสีแดง ตัวเมียลำตัวสีเขียวทึม ท้องสีเขียวอมเหลืองดูจางกว่าบริเวณอื่นต้นขามีลายสีเขียวขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาวแกมสีเนื้อ หรือสีแดงอ่อน
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยและหากินบนต้นไม้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าชายเลน ป่ารุ่น และป่าละเมาะ พบอยู่เป็นคู่หรือฝูงมันมักเกาะต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่งเป็นประจำ ไม่ค่อยย้ายที่เกาะและที่หากิน หากบริเวณนั้นขาดแคลนอาหารมันจะย้ายไปและจะกลับมาอีกหากบริเวณเดิมมีอาหารอุดมสมบูรณ์ใหม่ มันสามารถเกาะกิ่งก้านต้นไม้ได้ทุกแนว และไม่ค่อยลงพื้นดิน ยกเว้นเมื่อกินน้ำและโป่งอุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างไปจากนกเปล้าทั่วไป นกเปล้าคอสีม่วงชอบกินผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : นกเปล้าคอสีม่วงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยใช้กิ่งไม้เล็ก ๆ วางซ้อนกันตามง่ามต้นไม้
 +
 +
'''ไข่''' : ไข่มีรูปร่างรี สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 22.0x28.0 มม. รังมีไข่ 2 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาทั้งสิ้น 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวห่าง ๆ ยังไม่ลืมตา และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในระยะแรกพ่อแม่จะป้อนน้ำนมนกให้ลูกกิน เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พวกมันจึงจะป้อนผลไม้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นป้อนแมลงและตัวหนอนด้วย ลูกนกเติบโตค่อนข้างเร็ว อายุประมาณ 14-15 วันนะมีขนปกคลุมเต็มลำตัว สามารถบินได้ หลังจากนั้นไม่นานจะทิ้งรังไป
 +
 +
'''สถานภาพ''' : นกเปล้าคอสีม่วงเป็นนกประจำถิ่นพบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้แต่บางท้องที่พบบ่อยและปริมาณปานกลาง
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดนกเปล้าคอสีม่วงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:05, 9 ธันวาคม 2558

วงศ์ : Treron Vieillot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treron vernans (Linnaeus) 1771.
ชื่อสามัญ : Pink-necked Green Pigeon
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Pink-necked Pigeon

นกเปล้าคอสีม่วงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Treron vernans ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ vern, -a หรือ vernans แปลว่าฤดูใบไม้ผลิหรือสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมีนกเปล้าคอสีม่วง 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Treron vernans griseicapilla Schlegel ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ grise หรือ griseus แปลว่าสีเทา และ capill, -a หรือ capillus แปลว่าหัว ชื่อชนิดย่อยจึงหมายถึง “นกที่มีหัวสีเทา” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (24-25 ซม.) แตกต่างจากนกเปล้าเล็กหัวเทาและนกเปล้าอกสีม่วงน้ำตาลตรงที่หางสีเทา ใกล้ปลายหางมีแถบสีดำ ปลายหางสีเทา นกเปล้าคอสีม่วงตัวผู้หัวและคอหอยสีเทาปากสีน้ำเงินจาง คอและอกตอนบนสีม่วงแกมชมพู อกตอนล่างสีส้ม หลังและตะโพกสีเขียว ช่วงไหล่สีเขียวปีกสีเขียวมีแถบสีเหลืองอมเขียว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดงแกมน้ำตาลเข้ม ท้องสีเขียวอมเหลืองต้นขามีลายสีเขียวเข้ม ขาและนิ้วสีแดง ตัวเมียลำตัวสีเขียวทึม ท้องสีเขียวอมเหลืองดูจางกว่าบริเวณอื่นต้นขามีลายสีเขียวขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาวแกมสีเนื้อ หรือสีแดงอ่อน

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยและหากินบนต้นไม้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าชายเลน ป่ารุ่น และป่าละเมาะ พบอยู่เป็นคู่หรือฝูงมันมักเกาะต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่งเป็นประจำ ไม่ค่อยย้ายที่เกาะและที่หากิน หากบริเวณนั้นขาดแคลนอาหารมันจะย้ายไปและจะกลับมาอีกหากบริเวณเดิมมีอาหารอุดมสมบูรณ์ใหม่ มันสามารถเกาะกิ่งก้านต้นไม้ได้ทุกแนว และไม่ค่อยลงพื้นดิน ยกเว้นเมื่อกินน้ำและโป่งอุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างไปจากนกเปล้าทั่วไป นกเปล้าคอสีม่วงชอบกินผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก

การผสมพันธุ์ : นกเปล้าคอสีม่วงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยใช้กิ่งไม้เล็ก ๆ วางซ้อนกันตามง่ามต้นไม้

ไข่ : ไข่มีรูปร่างรี สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 22.0x28.0 มม. รังมีไข่ 2 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาทั้งสิ้น 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวห่าง ๆ ยังไม่ลืมตา และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในระยะแรกพ่อแม่จะป้อนน้ำนมนกให้ลูกกิน เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พวกมันจึงจะป้อนผลไม้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นป้อนแมลงและตัวหนอนด้วย ลูกนกเติบโตค่อนข้างเร็ว อายุประมาณ 14-15 วันนะมีขนปกคลุมเต็มลำตัว สามารถบินได้ หลังจากนั้นไม่นานจะทิ้งรังไป

สถานภาพ : นกเปล้าคอสีม่วงเป็นนกประจำถิ่นพบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้แต่บางท้องที่พบบ่อยและปริมาณปานกลาง

กฎหมาย : จัดนกเปล้าคอสีม่วงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง