กระท้อน

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Santol.png

วงศ์ : Meliaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.
ชื่อสามัญ : Santol, Sentul, Red sentol, Yellow sentol
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : สะตู, สตียา, สะโต, เตียน, ล่อน, สะท้อน, มะติ๋น, มะต้อง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
ใบ : ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบ คล้ายรูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง โดยความกว้างของใบประมาณ 6-15 เซนติเมตรและยาว 8-20 เซนติเมตร
ดอก : ดอกกระท้อน กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง และมีดอกย่อยจำนวนมาก
ผล : รูปทรงกลมแป้น ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางที่น้อยลง ผลกระท้อน มีขนาดประมาณ 5-15 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 4-5 เมล็ดและมีปุยสีขาว ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ และเมล็ดมีรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้มอยู่
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด, ทาบกิ่ง, ติดตา, เสียบยอด, เสียบข้าง

สรรพคุณ

1. ใช้ทำเป็นยาธาตุ (ราก)
2. ใช้ใบสดต้มอาบแก้ไข้ (ใบ)
3. ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
4. รากกระท้อนช่วยแก้บิด (ราก)
5. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ราก)
6. ใช้ทำเป็นยาขับลม (ราก)
7. กระท้อนมีสรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล)
8. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (เปลือก)
9. หลายส่วนของกระท้อนมีสรรพคุณออกฤทธิ์แก้อาการอักเสบ
10. สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
11. สารสกัดจากกิ่งกระท้อนมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลองได้

Santol1.png Santol2.png Santol3.png

แหล่งที่มาของภาพ
http://rspg.mfu.ac.th/img/plant/1617003923.JPG
https://live.staticflickr.com/8543/8644267980_880410f1e3_b.jpg
https://img.kapook.com/u/2016/wanchalerm/Health_06_59/Santol_5.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/06/ใบกระท้อน.jpg