กระบาก

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Krabak.png

วงศ์' : Dipterocarpaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.
ชื่อสามัญ : mersawa
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : ตะบาก, กระบากขาว, กระบากดำ, กระบากด้าง, กระบากแดง, กระบากโคก, บาก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนต่ำๆเปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนา
ใบ : ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 12-19 เส้น ก้านใบยาว 1.3-1.6 เซนติเมตร
ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่งช่อยาว 10 เซนติเมตร สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเวียนกัน ก้านดอกและกลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร
ผล : แห้งแบบมีปีก รูปกลม เรียบ ขนาด 1 เซนติเมตร มีปีกยาว 2 ปีกและปีกสั้น 3 ปีก โคนปีกติดเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวผล เมล็ด มี 1 เมล็ดต่อผล
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1. เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกโลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ (เปลือก)
2. เมล็ด ใบ ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน (เมล็ด, ใบ)
3. ใบและยาง รับประมานขับเลือด ตัดลูก( ทำให้เป็นหมัน)
4. น้ำมันยาง ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทาง
5. เดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ
6. น้ำมันยางดิบ ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่า

Krabak1.png Krabak2.png Krabak3.png Krabak4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Anisoptera_costata3.jpg
https://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Anisoptera_costata2.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/325122.jpg
https://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Anisoptera_costata1.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/krabak/img_4437-2.jpg