ทุ้งฟ้า

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Thung fa.png

วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall. ex G.Don
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : กระทุ้งฟ้าไห้, ทุ้งฟ้าไก้, ตีนเทียน, พวมพร้าว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีความสูงได้ประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นรูปไข่แกมรูปกรวยแหลม ค่อนข้างโปร่ง ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นวงรอบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเรียบเป็นสีขาวอมเทาหรือสีเทาอ่อน มีรูระบายอากาศทั่วไป เปลือกต้นเมื่อสับดูจะมีน้ำยางสีขาวเหนียว ๆ ซึมออกมา ส่วนเนื้อไม้มีสีค่อนข้างเหลือง เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง เสี้ยนไม้ตรง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลางและสม่ำเสมอ แข็ง เลื่อย ไสกบ และตกแต่งได้ง่าย ผึ่งแห้งได้ดี
ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงรอบ ๆ ข้อ ข้อละ 3-4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่แกมรูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว ท้องใบเป็นคราบสีขาว เส้นแขนงใบถี่และเป็นเส้นตรง
ดอก : ดอกเป็นช่อแขนงตามซอกใบที่ปลายกิ่งจำนวนมาก ยาวประมาณ 3.5-11.5 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาว มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
ผล : ฝักยาวขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ ๆ ฝักมีลักษณะเรียวยาว ยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร พอแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และบิดเป็นเกลียว
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลึกและมีการระบายน้ำได้ดี หรือในสภาพระบบวนเกษตร และควรปลูกในช่วงประมาณต้นฤดูชน เพื่อให้กล้าไม้มีเวลาตั้งตัว และระบบรากเจริญยึดดินได้ดีก่อนสิ้นฤดูฝน ซึ่งจะช่วยทำให้กล้าไม้สามารถรอดตายได้ตลอดฤดูแล้ง สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในป่าดงดิบและบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือพื้นที่ที่เคยถูกแผ้วถางมาก่อนทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งบริเวณนี้จะมีปริมาณของน้ำฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นมาก

สรรพคุณ

1. ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นเป็นยาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากผสมยา รับประทานบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง (ราก)
2. เปลือกต้นใช้เป็นยาบำรุง แก้ไข้ รักษาไข้ป่าหรือโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
3. ใช้เป็นยาแก้บิด (เปลือกต้น)
4. ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น)
5. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้รากเป็นยาบำรุงกำหนัด (ราก)
6. เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาบาดแผล (เปลือกต้น)
7. ใบนำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวทำให้ร้อน ใช้เป็นยาพอกแก้ข้อต่อเคลื่อน (ใบ)

Thung fa1.png Thung fa2.png Thung fa3.png Thung fa4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/01/Alstonia-macrophylla_ต้นทุ้งฟ้า_049.jpg?fit=2732%2C1186
https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/12/Alstonia-macrophylla_ต้นทุ้งฟ้า_030.jpg?fit=2732%2C1186
https://medthai.com/images/2014/12/ต้นทุ้งฟ้า.jpg
https://i1.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/01/Alstonia-macrophylla_ต้นทุ้งฟ้า_072.jpg?fit=2732%2C1186
https://i1.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/12/Alstonia-macrophylla_ต้นทุ้งฟ้า_033.jpg?fit=2732%2C1186