ตาเสือใบเล็ก

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Smalltiger.png

วงศ์ : Meliaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia spectabilis (Miq.) S.S.Jain & Bennet
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : สังไม้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ต้นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 12-26 เมตร เรือนยอดเปิดมีกิ่งงตั้ง 2-3 กิ่ง ปลายมีใบแน่นเป็นกระจุก โคนเป็นพูพอนคล้ายแผ่นกระดาน สูงได้ถึง 2 เมตร เมื่อมีอายุแก่ขึ้น เปลือกจะสีน้ำตาลอ่อนถึงสีขาวอมเทา หรือสีเทาอมสีม่วงเข้ม ชั้นในสีชมพูถึงสีน้ำตาลอมแดง มียางขาว
ใบ : ใบยาว 50-80 เซนติเมตร ใบกรอบแบบขนนกยอดเดี่ยว ใบย่อย 5-10 คู่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร พบบางที่ใหญ่กว่านี้ รูปขอบขนาดแกมรีถึงรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โค้งเบี้ยวใบแก่เนื้อคล้ายหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยงด้านล่าง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลแน่นบนเส้นกลางใบและกระจายบนผิวใบ มีรูเล็กๆทั้ง 2 ด้านเส้นใบ 9-19 คู่ โค้งฉันใกล้ขอบ เป็นร่องด้านบน นูนด้านล่างก้านใบย่อยยาว 0.8-2 เซนติเมตร ก้านช่อใบยาว 14-25 เซนติเมตร ด้านบนแบน กิ่งใหญ่ล่ำ ขอเป็นคลื่น เมื่ออ่อนมีขนหรือเกล็ดแน่น
ดอก : ยาว 2.5 มิลลิเมตร หรือยาวได้ถึง 70 มิลลิเมตร สีขาวหรือสีเหลือง รูปวงรีกลิ่นหอม ช่อดอกยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร มีแกนกลางใหญ่ล่ำ ก้านดอกยาวได้ถึง 3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงยาว 1/2-2/3 ของกลีบดอก รูปถ้วย ปลายจักลึกครึ่งกลีบเป็นแฉกทู่ 3 แฉก มักมีขนแน่น กลีบดอก 3 กลีบ กว้างได้ถึง 2.5 มิลลิเมตร ยาวได้ถึง 4 มิลลิเมตร รูปวงรีคล้ายหมวก ปลายบางคล้ายกระดาษมีเกล็ดรูปดาวจำนวนมาก หลอดเกสรเพศผู้สั้นกว่ากลีบเลี้ยงดอกเล็กน้อย รูปถ้วยอับเรณู 6 อัน พ้นหลอดเล็กน้อย
ผล : กว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ออกเป็นช่อใหญ่ล่ำยาวได้ถึง 13 เซนติเมตร ผลกลมหรือรูปไข่กลับกว้าง เปลือกนอกหนาได้ถึง 1 เซนติเมตร หนาเหนียว มียางขาว มีขนรูปดาวสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลแดงแน่นเมื่ออ่อน สีชมพูใสถึงสีแดงแก่แตกมี 3 ส่วน ถึง 4 ส่วน แต่ละส่วนมี 0-1 เมล็ด มีเนื้อสีเหลืองหรือสีแดงหุ้มมิด
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1. เปลือกต้น รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต
2. เนื้อไม้ รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
3. ผล แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
4. ใบ แก้บวม
5. เนื้อไม้มีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้)
6. เปลือกต้นมีรสฝาดเมา มีสรรพคุณเป็นยาปิดธาตุ กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ (เปลือกต้น)
7. แก่นใช้ทำเป็นยาสมานท้องไส้ได้ดี (แก่น)
8. เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (เนื้อไม้)
9. ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
10. เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก (เปลือกต้น)
11. เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
12. ใบมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวม (ใบ)
13. ผลมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวมตามข้อต่าง ๆ ในร่างกาย หรือใช้เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดตามข้อ (เปลือกต้น, ผล)

Smalltiger1.png Smalltiger2.png Smalltiger3.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.เกร็ดความรู้.net/wp-content/uploads/2015/06/culcullata-content1.jpg
https://thaiherbal.org/wp-content/uploads/2014/12/TS3.jpg
http://npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sangkledlukhai/3365.jpg
http://npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sangkledlukhai/22.jpg