ขนุนนก

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Jackfruit.png

วงศ์ : Sapotaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Palaquium obovatum (Griff.) Engl.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : ซาง, ยางขนุนนก, เตียวพรุ, ยักเด็ง, ยาตู, ยือราโต๊ะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้น สูง 30-40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม โคนต้นมักมีพูพอนแผ่กว้าง สูง 1-2 เมตร ลำต้นเหนือพูพอนกลม เปลาตรง
ใบ : ใบรูปไข่กลับรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 7-13 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน กลม ทู่ หรือแหลม โคนใบเรียวแคบเข้าหาก้านใบ ขอบใบมักเป็นคลื่น ด้านท้องใบสีขาวนวล หลังใบสีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบ 8-16 คู่ ก้านใบยาว 2-2.5 เซนติเมตร
ดอก : ดอกสีขาว ถึงสีเหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและง่ามใบกระจุกละ 2-7 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
ผล : ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร มี 1-2 เมล็ด
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1. แก่น มีรสหวานต้มรับประทานแก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิตพิการ แก้กำเดา แก้ไข้สำปชวน (แก่น)

Jackfruit1.png Jackfruit2.png Jackfruit3.png

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/kanunnok/IMG_6776_resize.JPG
https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/biblio/191438.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/kanunnok/ton.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/kanunnok/img_5207-2.jpg