เทพทาโร

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Taro.png

วงศ์ : Lauraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn.
ชื่อสามัญ : Citronella laurel, True laurel
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : จวง, จวงหอม, จะไคต้น, จะไคหอม, พลูต้นขาว, มือแดกะมางิง, การบูร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ และมีกลิ่นหอมฉุน ร้อน ๆ คล้ายกลิ่นการบูร
ใบ : ใบดกและหนาทึบเป็นไม้ร่มได้ดี ใบเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายขนนก เรียงเป็นคู่ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งขนาดเล็ก
ดอก : ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีขาวอมเขียว ภายในดอกมีขนเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน
ผล : รูปกลมไข่กลับสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดจะมีสีแดง รูปเป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1. เนื้อไม้เป็นยาบำรุงธาตุ (เนื้อไม้)
2. ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ อาการไอเรื้อรัง ตัวร้อน ออกหัดตัวร้อน ให้ใช้เมล็ดข่าต้นประมาณ 5-6 กรัม นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำรับประทาน (เมล็ด)
3. เนื้อไม้ใช้ปรุงเป็นยาหอมลม รักษาท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด (เนื้อไม้)
4. ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ (เนื้อไม้)
5. รากใช้ดองกับเหล้ารับประทานเป็นยาขับลมชื้นในร่างกาย (ราก)
6. ใช้เป็นยาแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องน้อย (ใบ, ผล, ราก, เปลือก)
7. ตำรับยาแก้บิด จะใช้เมล็ดข่าต้นประมาณ 5-8 กรัม นำมาต้มกับใบยูคาลิปตัสประมาณ 6-8 กรัม รับประทาน (ตำรับยานี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอด้วย) (เมล็ด)
8. เนื้อไม้ใช้ปรุงร่วมกับสะค้านและต้นดาวเรือง นำมารับประทานเป็นยารักษาฝีลม (เนื้อไม้)
9. ใช้เป็นยาช่วยขับโลหิตและน้ำเหลือง (เนื้อไม้)
10. ใบมีประสิทธิภาพในการห้ามเลือดและช่วยสมานแผลสด (ใบ)
11. ใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ ไขข้ออักเสบ เนื่องจากมีลมชื้นเกาะติดภายใน ด้วยการใช้รากนำมาดองกับเหล้ารับประทาน (ราก)
12. ตำรับยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเส้นเอ็น ให้ใช้รากข่าต้น 20 กรัม, เจตมูลเพลิง 15 กรัม, โกฐหัวบัว 20 กรัม, โกฐเชียง 15 กรัม และโกฐสอ 10 กรัม นำมาแช่กับเหล้ารับประทาน (ตำรับนี้ใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้เช่นเดียวกับการใช้รากเดี่ยว ๆ) (ราก)
13. ผลสุกนำมาทำน้ำมันทา แผลสด ไฟไหม้ น้้าร้อนลวก (ผล)
14. ผลสุกนำมาทำน้ำมันชุบส้าลีหยอดหู แก้น้้าหนวก ขับน้้ามูก ไซนัส (ผล)

Taro1.png Taro2.png Taro3.png Taro4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.doa.go.th/hc/chumphon/wp-content/uploads/2018/12/15-เทพทาโร.jpg
https://cw.lnwfile.com/_/cw/_raw/e5/h1/6h.jpg
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/images/resource/fragrant/citronella_laurel/cinnamomum_03.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f2/Cinnamomum_glanduliferum.jpg
https://cw.lnwfile.com/_/cw/_raw/8g/xe/wb.jpg