หว้าหิน

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Waa hin.png

วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium claviflorum
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : เทอะอุซอ, มะห้า, เลือด หว้าขี้กวาง, หว้าหินย่นแดงเขา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกถึงรูปรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 เซนติเมตร
ดอก : ช่อดอกแบบช่อกรุจุก ยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกสั้นมาก ฐานรองดอกรูปกระบองหรือรูปกรวย สีขาวถึงสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 5-10 กลีบ รูปกลม บางคล้ายเยื่อ มีต่อมกระจายทั่ว เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ผล : ผลสดรูปทรงกระบอก รูปรี หรือรูปกรวย เปลือก: เปลือกต้นสีน้ำตาลออกครีม มีรอยแตกเล็กน้อย
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1. เปลือกต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย (เปลือก)
2. ใบ แก้บิด (ใบ)
3. ผลดิบ แก้ท้องร่วง (ผล)
4. ผลสุก กินได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์ เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด (ผล)
5. เมล็ด แก้ท้องร่วง บิด ถอนพิษต้นและเมล็ดแสลงใจ (Strychnine) มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด (เมล็ด)
6. เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม (เนื้อไม้)

Waa hin1.png Waa hin2.png Waa hin3.png

แหล่งที่มาของภาพ
http://greenarea.deqp.go.th/images_trees/1578141782567.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/vakeekawng2-2.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/vakeekawng-1.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/11.jpg