ขนุนป่า
วงศ์ : Moraceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus rigidus Blume
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : ขนุนปาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดเล็ก-ใหญ่สูง 10-45 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ หรือแผ่กว้าง
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาด 3.5-15x6.5-26 เซนติเมตร ปลายใบมน ฐานใบสอบ ผิวใบด้านล่างมีขนมากกว่าด้านบน แผ่นใบหนาแข็งและสาก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 8-18 เส้น มีขน
ดอก : ดอกสีเหลือง เป็นช่อกระจุกแน่นหรือเป็นช่อเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศร่วมต้น ดอกเพศผู้รูปไข่แกมขอบขนานหรือกลม ดอกเพศเมียรูปไข่หรือกลม ดอกเรียงแน่นบนฐานรองดอกอันเดียวกัน
ผล : ผลสดแบบผลรวม ทรงกลมสีเขียวอมเหลือง มีหนามยาวตรงเท่ากันรอบผล ผลสุกสีส้ม มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองมีรสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลอมส้ม ทรงกลม มีเมล็ดจำนวนมากต่อผล
การขยายพันธุ์ : วิธีการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ
- 1. แก่น ให้ปวกหาด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน ละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน (แก่น)
- 2. แก่นเนื้อไม้ แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิตัวตืด ขับเลือด แก้ลม ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย (แก่นไม้)
- 3. แก่น แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้กระษัยดาน แก้กระษัยเสียด แก้กระษัยกล่อน แก้กระษัยลมพานไส้ แก้กระษัยทำให้ท้องผูก แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ พยาธิตัวตืด แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต (แก่น)
- 4. ราก แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน (ราก)
- 5. เปลือก แก้ไข้ (เปลือก)



แหล่งที่มาของภาพ
https://inaturalist-open-data.s3.amazonaws.com/photos/20550860/original.jpeg?1530367596
http://pic.pericopsis.org/f/3640.jpg
https://www.nparks.gov.sg/-/media/ffw/protected/flora/3/5/3576/artocarpus-rigidus_reuben-lim-(2)_lowres.jpg