มะไฟ

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Mafai.png

วงศ์ : Phyllanthaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour.
ชื่อสามัญ : Burmese grape, Rambeh Bambi
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : ส้มไฟ, หัมกัง, ผะยิ้ว, แซเครือแซ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-22 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หรือหยักตื้นๆ เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ ด้านล่างนูน เนื้อใบค่อนข้างบางเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-7.5 เซนติเมตร
ดอก : ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ มี 4-8 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาว มีใบประดับขนาดเล็กอยู่ที่ก้านดอก กลีบเลี้ยง รูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร รังไข่เหนือวงกลีบ มีขน
ผล : ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปค่อนข้างกลมหรือรี ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร สีผิวเหลืองถึงแดง ผิวเกลี้ยง มี 1-3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ดตอนกิ่ง และทาบกิ่ง โดยการเตรียมหลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 3×3 เมตร มะไฟสามารถปลูกระบบชิดได้ เพราะมะไฟออกลูกใต้ต้น โคนต้น ไม่ใช่ออกที่ยอด เพราะถ้าออกที่ยอด ต้นไม้จะต้องใช้แสงเยอะ และไม่ควรปลูกชิดกันจนบังแสง

สรรพคุณ

1. ช่วยทำให้ชุ่มคอ
2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
3. ช่วยแก้โรคหวัด (ใบ)
4. ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย (ใบ)
5. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ใบ)
6. ช่วยขับเสมหะและช่วยละลายเสมหะ
7. ช่วยดับพิษร้อน (รากสดหรือรากแห้ง)
8. ผลใช้เป็นยาช่วยย่อย รักษาอาการอาหารไม่ย่อย
9. ผลช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
10. แก้อาการท้องร่วง (รากนำไปต้มกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ)
11. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง (เมล็ด)
12. ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
13. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
14. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน และโรคเรื้อน (ใบ)
15. เปลือกมะไฟต้มใช้แก้โรคผิวหนัง
16. ช่วยแก้อาการผิวหนังอักเสบชนิดที่เป็นถุงน้ำและลอกออกมา (รากสดหรือรากแห้ง)
17. ช่วยแก้พิษฝี (ใบ)
18. ช่วยแก้ฝีภายใน (รากสดหรือรากแห้ง)
19. ช่วยบรรเทาอาการไข้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า และมีผื่นคล้ายลมพิษ หรือ "ไข้ประดง" (รากสดหรือรากแห้ง)
20. ช่วยรักษาโรคเริม (รากสดหรือรากแห้ง)
21. แก้วัณโรค (รากสดหรือรากแห้ง)
22. ใช้แก้พิษตานซาง (รากสดหรือรากแห้ง)

Mafai1.png Mafai2.png Mafai3.png Mafai4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/02/Burmese-grape_ต้นมะไฟ_001.jpg?fit=2732%2C1186
https://i1.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/02/Burmese-grape_ต้นมะไฟ_050.jpg?fit=2732%2C1186
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/02/Burmese-grape_ต้นมะไฟ_166.jpg?fit=2732%2C1186
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/02/Burmese-grape_ต้นมะไฟ_067.jpg?fit=2732%2C1186
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2020/02/Burmese-grape_ต้นมะไฟ_034.jpg?fit=2732%2C1186