มะเม่าขม

จาก ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Mamaokom.png

วงศ์ : Phyllanthaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma montanum Blume var. wallichii (Tul.) Petra Hoffm.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : มะเม่า, มะเม่าหิน, มะเม่าโปโล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 20 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว รูปรี หรือรูปขอบขนานแคบ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ
ดอก : ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้ ยาว 3-13 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก จำนวนมาก เกสรเพศผู้ 3-6 อัน เกสรเพศเมียเป็นหมัน ช่อดอกเพศเมียออกตามซอกใบ หรือออกติดกันแน่นที่ปลายยอด ดอกเพศเมียขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย 3-6 กลีบ รังไข่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียมี 3-6 แฉก
ผล : ผลออกเป็นช่อยาว 16-20 เซนติเมตร ผลรูปรี หรือกลมแบน
การขยายพันธุ์  : วิธีการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

1.รากทาแก้ปวดท้อง (ราก)
2.ใบใช้พอกแผล ชาที่ชงจากใบหรือผล ดื่มเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร (ใบ)

Mamaokom1.png Mamaokom2.png Mamaokom3.png

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sommaokao/IMG_8827_resize.JPG
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/Picture/jackth/IMG_MMK1.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sommaokao/1.JPG