หว้าหิน
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium claviflorum
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : เทอะอุซอ, มะห้า, เลือด หว้าขี้กวาง, หว้าหินย่นแดงเขา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกถึงรูปรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 เซนติเมตร
ดอก : ช่อดอกแบบช่อกรุจุก ยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกสั้นมาก ฐานรองดอกรูปกระบองหรือรูปกรวย สีขาวถึงสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 5-10 กลีบ รูปกลม บางคล้ายเยื่อ มีต่อมกระจายทั่ว เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ผล : ผลสดรูปทรงกระบอก รูปรี หรือรูปกรวย เปลือก: เปลือกต้นสีน้ำตาลออกครีม มีรอยแตกเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ : วิธีการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ
- 1. เปลือกต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย (เปลือก)
- 2. ใบ แก้บิด (ใบ)
- 3. ผลดิบ แก้ท้องร่วง (ผล)
- 4. ผลสุก กินได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์ เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด (ผล)
- 5. เมล็ด แก้ท้องร่วง บิด ถอนพิษต้นและเมล็ดแสลงใจ (Strychnine) มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด (เมล็ด)
- 6. เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม (เนื้อไม้)



แหล่งที่มาของภาพ
http://greenarea.deqp.go.th/images_trees/1578141782567.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/vakeekawng2-2.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/vakeekawng-1.jpg
http://www.npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/vakeekwang/11.jpg