ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะเคียนทอง"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Dipterocarpaceae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Hopea odorata...") |
|||
แถว 42: | แถว 42: | ||
---- | ---- | ||
'''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> | '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> | ||
− | https://medthai.com/images/2014/01/ลูกตะเคียนทอง.jpg | + | https://medthai.com/images/2014/01/ลูกตะเคียนทอง.jpg <br> |
− | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_003.jpg | + | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_003.jpg <br> |
− | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_002.jpg | + | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_002.jpg <br> |
− | https://medthai.com/images/2014/01/ใบตะเคียน.jpg | + | https://medthai.com/images/2014/01/ใบตะเคียน.jpg <br> |
− | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_008.jpg | + | http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_008.jpg <br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:16, 22 กันยายน 2564
วงศ์ : Dipterocarpaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
ชื่อสามัญ : Iron Wood
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : กะกี้, โกกี้, แคน, จะเคียน, จูเค้, โซเก, ตะเคียน, ตะเคียนใหญ่, ไพร, จืองา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เสี้ยนมักสน ไม้แข็ง เหนียว ทนทาน และเด้งตัวได้มาก
ใบ : ใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปดาบ ปลายใบเรียว ส่วนโคนใบมนป้านและเบี้ยว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบมีตุ่มหูดหรือตุ่มดอมเมเซียเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงของใบ ใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 9-13 คู่ ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน เชื่อมใบย่อยเชื่อมกันเป็นขั้นบันได ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อยาวแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ มีดอกย่อยอยู่ช่อละประมาณ 40-50 ดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมและมีขนนุ่ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดเป็นกงจักร มีขนาดของดอกประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร กลีบดอก 3-5 มิลลิเมตร ปลายกลีบดอกหยัก ส่วนล่างกลีบบิดและเชื่อมติดกัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน อับเรณูมียอดแหลม ส่วนเกสรตัวเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ลักษณะเรียวเล็ก มีความยาวเท่ากับรังไข่ เมื่อหลุดจะร่วงทั้งชั้นรวมทั้งเกสรตัวผู้ติดไปด้วย และดอกยังมีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ
ผล : ผลแห้งไม่แตก ผลเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร (มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร) ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว 1 คู่ ลักษณะเป็นรูปใบพาย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายปีกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวสอบมาทางด้านโคนปีก เส้นปีกตามยาวประมาณ 9-11 เส้น และยังมีปีกสั้นอีก 3 ปีกซ้อนกัน มีความยาวไม่เกินความยาวของตัวผลหรือยาวน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร ปีกจะซ้อนกันอยู่ แต่จะหุ้มส่วนกลางผลไม่มิด โดยในหนึ่งผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ : วิธีการผลิตกล้าจากเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูงประมาณ 130-300 เมตร และเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และรายน้ำได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียในแถบประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยเป็นไม้ในป่าดงดิบที่มักขึ้นเป็นหมู่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบ หรือในที่ค่อนข้างราบใกล้ฝั่งแม่น้ำ ตามป่าดิบใกล้ลำธาร ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร
สรรพคุณ
- 1. แก่นมีรสขมอมหวาน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)
- 2. ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้) ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)
- 3. ช่วยแก้ไข้สัมประชวรหรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)
- 4. แก่นไม้ตะเคียนใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)
- 5. ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)
- 6. ช่วยขับเสมหะ (แก่น)
- 7. เปลือกต้นนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุดเนื่องจากกินยาเข้าปรอท (เปลือกต้น)
- 8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม (แก่น)
- 9. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (เปลือกต้น)
- 10. ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก (เปลือกต้น)
- 11. ช่วยแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
- 12. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น, เนื้อไม้)
- 13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ยาง)
- 14. ช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
- 15. ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
- 16. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง (เปลือกต้น)
- 17. ช่วยแก้อาการอักเสบ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
- 18. ยางใช้ผสมกับน้ำใช้ทารักษาบาดแผล หรือจะทำเป็นยางแห้งบดเป็นผงใช้รักษาบาดแผล (ยาง) บ้างว่าใช้รักษาไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (ยาง)
- 19. เปลือกเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
- 20. ยางจากไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ใช้ทำยาหม่องเพื่อช่วยบรรเทารักษาบาดแผลหรือบริเวณที่มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย (ยาง)
- 21. ช่วยรักษาคุดทะราด (แก่น)
- 22. ดอกใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร (ดอก)
- 23. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2014/01/ลูกตะเคียนทอง.jpg
http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_003.jpg
http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_002.jpg
https://medthai.com/images/2014/01/ใบตะเคียน.jpg
http://www.phargarden.com/userfiles/image/images/ph183_Takienthong/ph183_008.jpg