ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิกุล"
แถว 62: | แถว 62: | ||
'''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> | '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> | ||
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5150.jpg?fit=2732%2C1186 <br> | https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5150.jpg?fit=2732%2C1186 <br> | ||
− | https:// | + | https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5012.jpg?fit=2732%2C1186 <br> |
− | https:// | + | https://i1.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5153.jpg?fit=2732%2C1186 <br> |
− | https:// | + | https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5055.jpg?fit=2732%2C1186 <br> |
− | https:// | + | https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5075.jpg?fit=2732%2C1186 <br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:42, 22 กันยายน 2564
วงศ์ : Sapotaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.
ชื่อสามัญ : Asian bulletwood, Bullet wood, Bukal, Tanjong tree, Medlar, Spanish cherry
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : กุน, แก้ว, ซางดง, พิกุลเขา, พิกุลเถื่อน, พิกุลป่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
ใบ : มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันแบบห่าง ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน ท้องใบจะเป็นสีเขียวอ่อน และเนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างเหนียว ส่วนก้านใบยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร หูใบมีลักษณะเป็นรูปเรียวแคบ ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และหลุดร่วงได้ง่าย
ดอก : ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกประมาณ 2-6 ดอก โดยจะออกตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ดอกพิกุลจะมีขนาดเล็กสีขาวนวล มีกลิ่นหอม (กลิ่นยังคงอยู่แม้ตากแห้งแล้ว) และหลุดร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม มีขนสั้นสีน้ำตาลนุ่ม ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร โดยกลีบดอกจะสั้นกวากลีบเลี้ยงเล็กน้อย กลีบดอกมี 8 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอกแต่ละกลีบจะมีส่วนยื่นออกมาด้านหลัง 2 ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นจะมีลักษณะ ขนาด และสีคล้ายคลึงกับกลีบดอกมาก ดอกมีเกสรตัวผู้สมบูรณ์ 8 ก้าน อับเรณูเป็นรูปใบหอกและยาวกว่าก้านชูอับเรณู เกสรตัวผู้เป็นหมัน 8 อัน และรังไข่มี 8 ช่อง เมื่อดอกใกล้โรยจะเป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาล
ผล : ผลเป็นรูปไข่ถึงรี ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีขนสั้นนุ่ม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแสด ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเหลืองมีรสหวานอมฝาดและมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ลักษณะแบนรี แข็ง สีดำเป็นมัน
การขยายพันธุ์ : วิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน มีการเพาะปลูกมากในมาเลเซีย เกาะโซโลมอน นิวแคลิโดเนีย วานูอาตู และออสเตรเลียทางตอนเหนือ รวมไปถึงเขตร้อนทั่ว ๆ ไป
สรรพคุณ
- 1. ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก, แก่น, แก่นที่ราก, ราก)
- 2. แก่นที่รากและดอกแห้งใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ส่วนดอกสดใช้เข้ายาหอมช่วยบำรุงหัวใจเช่นกัน (ดอก, ขอนดอก, แก่นที่ราก)
- 3. ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ขอนดอก, ดอกแห้ง)
- 4. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
- 5. ช่วยแก้โลหิต (ดอก, ราก) ฆ่าพิษโลหิต (เปลือกต้น)
- 6. ช่วยแก้เลือดตีขึ้นให้สลบไป แก้เลือดตีขึ้นถึงกับตาเหลือง (ใบ)
- 7. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ดอกแห้ง)
- 8. ช่วยแก้หอบ (ดอกแห้ง)
- 9. ช่วยแก้หืด (ใบ)
- 10. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้ (แก่น, ผลดิบและเปลือก, ดอกแห้ง), แก้ไข้จับ แก้ไข้หมดสติ แก้ไข้คลั่งเพ้อ (ดอกแห้ง)
- 11. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอกแห้ง)
- 12. ผลสุกใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะ (ผลสุก, ดอกแห้ง)
- 13. ดอกแห้งใช้ป่นทำเป็นยานัตถุ์ (ดอกแห้ง)
- 14. ช่วยรักษาโรคคอ (เปลือกต้น)
- 15. ผลสุกใช้รับประทานแก้โรคในลำคอและปาก (เปลือกต้น)
- 16. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ดอกแห้ง)
- 17. เปลือกต้นใช้เป็นยาอมกลั้วคอล้างปาก แก้โรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม รำมะนาด (เปลือกต้น)
- 18. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเกลือช่วยแก้อาการปวดฟัน ช่วยทำให้ฟันแน่น แก้ฟันโยก ช่วยฆ่าแมงกินฟันที่ทำให้ฟันผุ (เปลือกต้น)
- 19. ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย (เปลือกต้น)
- 20. ดอกแห้งช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะ ละลายเสมหะ (ดอกแห้ง, ราก)
- 21. รากและดอกใช้ปรุงเป็นยาแก้ลม (ระบบไหลเวียนทางโลหิต) ช่วยขับเสมหะที่เกิดจากลม (ราก, ดอก)
- 22. ช่วยบำรุงปอด (ขอนดอก)
- 23. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ลงท้อง (ดอกสด, ดอกแห้ง, ผลดิบและเปลือก, เปลือกต้น, ราก)
- 24. เมล็ดนำมาตำให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนทวารหรือทำเป็นยาเหน็บทวารเด็กเมื่อมีอาการท้องผูก ช่วยแก้โรคท้องผูก (เข้าใจว่าใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) (เมล็ด)
- 25. ช่วยขับลม (แก่นที่ราก)
- 26. ช่วยรักษาไส้ด้วนไส้ลาม (ใบ)
- 27. ใบมีสรรพคุณฆ่าพยาธิ (ใบ, แก่น) ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ดอกแห้ง, เปลือกต้น, ราก)
- 28. เมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)
- 29. ใบช่วยรักษากามโรค ฆ่าเชื้อกามโรค (ใบ)
- 30. ช่วยแก้ตกโลหิต (ดอกแห้ง, ราก)
- 31. ขอนดอก (เนื้อไม้ที่ราลง มีสีน้ำตาลเข้มประขาว เรียกว่า "ขอนดอก") ใช้เป็นยาบำรุงตับ (ขอนดอก)
- 32. ผลดิบและเปลือกเป็นยาฝาดมาน (ผลดิบและเปลือก, ดอกสด)
- 33. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและตามร่างกาย (ดอก)
- 34. ช่วยแก้อาการบวม (ดอกแห้ง, เปลือกต้น, ราก)
- 35. ช่วยแก้เกลื้อน (กระพี้) ส่วนแก่นช่วยรักษากลากเกลื้อน (แก่น)
- 36. ช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ดอกแห้ง, ราก)
- 37. ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (ครรภ์รักษา) (ขอนดอก)
- 38. ดอกพิกุลจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งห้า" (ประกอบไปด้วยดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง), ตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเจ็ด" (เพิ่มดอกจำปาและดอกกระดังงา), ตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเก้า" (เพิ่มดอกลำดวนและดอกลำเจียก) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ ช่วยแก้อาการวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ช่วยแก้ลมกองละเอียด และช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี หรือจะใช้เข้ายาผสมกับดอกไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอมเพื่อทำบุหงาก็ได้ (ดอก)
- 39. ดอกพิกุลจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดจตุทิพยคันธา" (ประกอบไปด้วยดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ เหง้าขิงแครง) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ลมปั่นป่วน แก้พรรดึก และแก้เสมหะ (ดอก)
- 40. ดอกพิกุลจัดอยู่ใน "ตำรับยาเขียวหอม" ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด และแก้พิษสุกใส (ช่วยบรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส) (ดอก)[5]
- 41. ดอกพิกุลจัดอยู่ในตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยแก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ ช่วยแก้ลมปลายไข้ (มีอาการคลื่นเหียน วิงเวียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืด ซึ่งเป็นอาการหลังจากการฟื้นไข้) (ดอก)
- 42. ดอกพิกุลจัดอยู่ในตำรับยา "ยาหอมเทพจิตร" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด หรืออาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น และช่วยบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ดอก)




แหล่งที่มาของภาพ
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5150.jpg?fit=2732%2C1186
https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5012.jpg?fit=2732%2C1186
https://i1.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5153.jpg?fit=2732%2C1186
https://i2.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5055.jpg?fit=2732%2C1186
https://i0.wp.com/herbth.wpcomstaging.com/wp-content/uploads/2018/08/e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8b4e0b881e0b8b8e0b8a5075.jpg?fit=2732%2C1186