ตาเสือใบเล็ก
วงศ์ : Meliaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia spectabilis (Miq.) S.S.Jain & Bennet
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : สังไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ต้นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 12-26 เมตร เรือนยอดเปิดมีกิ่งงตั้ง 2-3 กิ่ง ปลายมีใบแน่นเป็นกระจุก โคนเป็นพูพอนคล้ายแผ่นกระดาน สูงได้ถึง 2 เมตร เมื่อมีอายุแก่ขึ้น เปลือกจะสีน้ำตาลอ่อนถึงสีขาวอมเทา หรือสีเทาอมสีม่วงเข้ม ชั้นในสีชมพูถึงสีน้ำตาลอมแดง มียางขาว
ใบ : ใบยาว 50-80 เซนติเมตร ใบกรอบแบบขนนกยอดเดี่ยว ใบย่อย 5-10 คู่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร พบบางที่ใหญ่กว่านี้ รูปขอบขนาดแกมรีถึงรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โค้งเบี้ยวใบแก่เนื้อคล้ายหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยงด้านล่าง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลแน่นบนเส้นกลางใบและกระจายบนผิวใบ มีรูเล็กๆทั้ง 2 ด้านเส้นใบ 9-19 คู่ โค้งฉันใกล้ขอบ เป็นร่องด้านบน นูนด้านล่างก้านใบย่อยยาว 0.8-2 เซนติเมตร ก้านช่อใบยาว 14-25 เซนติเมตร ด้านบนแบน กิ่งใหญ่ล่ำ ขอเป็นคลื่น เมื่ออ่อนมีขนหรือเกล็ดแน่น
ดอก : ยาว 2.5 มิลลิเมตร หรือยาวได้ถึง 70 มิลลิเมตร สีขาวหรือสีเหลือง รูปวงรีกลิ่นหอม ช่อดอกยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร มีแกนกลางใหญ่ล่ำ ก้านดอกยาวได้ถึง 3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงยาว 1/2-2/3 ของกลีบดอก รูปถ้วย ปลายจักลึกครึ่งกลีบเป็นแฉกทู่ 3 แฉก มักมีขนแน่น กลีบดอก 3 กลีบ กว้างได้ถึง 2.5 มิลลิเมตร ยาวได้ถึง 4 มิลลิเมตร รูปวงรีคล้ายหมวก ปลายบางคล้ายกระดาษมีเกล็ดรูปดาวจำนวนมาก หลอดเกสรเพศผู้สั้นกว่ากลีบเลี้ยงดอกเล็กน้อย รูปถ้วยอับเรณู 6 อัน พ้นหลอดเล็กน้อย
ผล : กว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ออกเป็นช่อใหญ่ล่ำยาวได้ถึง 13 เซนติเมตร ผลกลมหรือรูปไข่กลับกว้าง เปลือกนอกหนาได้ถึง 1 เซนติเมตร หนาเหนียว มียางขาว มีขนรูปดาวสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลแดงแน่นเมื่ออ่อน สีชมพูใสถึงสีแดงแก่แตกมี 3 ส่วน ถึง 4 ส่วน แต่ละส่วนมี 0-1 เมล็ด มีเนื้อสีเหลืองหรือสีแดงหุ้มมิด
การขยายพันธุ์ : วิธีการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ
- 1. เปลือกต้น รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต
- 2. เนื้อไม้ รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
- 3. ผล แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
- 4. ใบ แก้บวม
- 5. เนื้อไม้มีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้)
- 6. เปลือกต้นมีรสฝาดเมา มีสรรพคุณเป็นยาปิดธาตุ กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ (เปลือกต้น)
- 7. แก่นใช้ทำเป็นยาสมานท้องไส้ได้ดี (แก่น)
- 8. เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (เนื้อไม้)
- 9. ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
- 10. เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก (เปลือกต้น)
- 11. เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
- 12. ใบมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวม (ใบ)
- 13. ผลมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวมตามข้อต่าง ๆ ในร่างกาย หรือใช้เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดตามข้อ (เปลือกต้น, ผล)



แหล่งที่มาของภาพ
https://www.เกร็ดความรู้.net/wp-content/uploads/2015/06/culcullata-content1.jpg
https://thaiherbal.org/wp-content/uploads/2014/12/TS3.jpg
http://npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sangkledlukhai/3365.jpg
http://npic-surat.com/web/images/stories/panmaipadipcheun/sangkledlukhai/22.jpg