กระเจี๊ยบแดง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Hibiscus sabdariffa L.jpg

วงศ์ MALVACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อสามัญ Roselle
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ กระเจี๊ยบเปรี้ยว, ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง, ส้มพม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนนิยมนำมาแกงส้ม ให้รสเปรี้ยว น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี
สรรพคุณทางยา

  • ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
  • กระเจี๊ยบแดงสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายได้ นอกจากนี้น้ำกระเจี๊ยบสามารถใช้ทดสอบสารอาหารที่มีโปรตีนได้ โดยอัตราส่วน 1:2 ซึ่งสีแดงของน้ำกระเจี๊ยบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีอื่น

เพาะขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด

Hibiscus sabdariffa L 01.jpg Hibiscus sabdariffa L 02.jpg Hibiscus sabdariffa L 03.jpg Hibiscus sabdariffa L 04.jpg Hibiscus sabdariffa L 05.jpg