ผักพาย

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Limmocharis Flava L Buch.jpg

วงศ์ ALISMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Limmocharis flava (L) Buch.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ตาลปัตรฤษี ตาลปัตรยายชี ผักก้านจอง บอนจีน คันฉ่อง คันจ่อง กันจ้อง นางกวัก บัวลอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก ใบเลี้ยงเดี่ยว ประเภทชายน้ำ มีอายุหลายฤดูลำต้น เป็นเหง้าสั้น ๆ อยู่ในดินก่อตั้งตรง ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวอ่อนเรียงรอบลำต้น มีก้าน ใบยาว เป็นเหลี่ยมอวบ แผ่นใหญ่รูปวงไข่รี ฐานใบเว้า ใบกว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อแบบอัมเบล (umbel) มีก้านช่อยาวลักษณะคล้ายก้านใบ ช่อหนึ่ง ๆ มีดอก 2-8 ดอก ดอกมีกลีบดอก 3 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกบอบบาง ผล กลมรีเมื่อแก่ จะแตกออกเป็นหลายซีก มีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาลจำนวนมาก พบทุกภาค บริเวณน้ำตื้น ดินเป็นโคลน เช่น ตามคูคลอง และในนาข้าว
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดออ่น ก้านดอก และช่อดอกอ่อน เป็นผักสด หรือต้มจิ้ม และใช้แกงส้ม
สรรพคุณทางยา

  • ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวลม

เพาะขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด และต้นอ่อนที่เกิดจากช่อดอก

Limmocharis Flava L Buch 01.jpg Limmocharis Flava L Buch 02.jpg Limmocharis Flava L Buch 03.jpg Limmocharis Flava L Buch 04.jpg