ชะมวง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Garcinia cowa Roxb 02.jpg

วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb.
ชื่อสามัญ Cha muang
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ชะมวง หรือกระมวง มวงส้ม หมากโมก เรียกแตกต่างกันไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี แกมใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. เนื้อใบหนาและเหนียว ผิวใบเป็นมัน ดอก แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุก มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือชมพูถึงแดง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ผลเป็นผลสด รูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีเหลืองแกมส้มหม่นๆ
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบและผลรสเปรี้ยว สรรพคุณ ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกขับเสมหะ แก้ธาตุพิการและใบผสมกับยาชนิดอื่นปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย  ราก นิยมนำยอดอ่อนมาปรุงอาหาร เช่นต้มเนื้อ แกงส้ม ต้มแกง ชนิดต่างๆ หากต้องการรสเปรี้ยว ส่วนลูกของชะมวงมีรสเปรี้ยว เป็นผลไม้ป่าที่รับประทานเล่น รสเปรี้ยวและประโยชน์ต่อสุขภาพ
สรรพคุณทางยา

  • ใบ ใบเดียวขอบใบเรียบ ใบหนายาวสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมม่วงแดง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1 – 3 ยอด ตัวใบค่อนข้างหนาและด้านสีขาวกว้าง 1.2 – 1.9 ซม. ตัวใบยาว 18 – 20 ซม. ขอบใบเรียบมีกลิ่นเล็กน้อย ไม้ผลัดใบ
  • ดอก ดอกสีขาวนวลมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กกลีบแข็งสีนวลเหลืองมีกลิ่นหอม ออกจำนวนมาก ขนาด 1 – 1.5 ซม. ดอกออกตามกิ่ง
  • ผล ผลทรงกลมข้างผลเว้าเป็นพู เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลมีเนื้อหนาสีเหลืองรสฝาด และมีเมล็ดอยู่ภายใน จำนวน 4 – 6 เมล็ด

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

Garcinia cowa Roxb 04.jpg Garcinia cowa Roxb 01.jpg Garcinia cowa Roxb 02.jpg Garcinia cowa Roxb 03.jpg