ปุด

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Etlingera littoralis Gieseke.jpg

วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia mutica Roxb
ชื่อสามัญ Swamp fern, Golden Leather Fern
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ปุดใหญ่, สากปุด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ปุด เป็นพืชตระกูลขิงข่า มีเหง้าอยู่ใต้ดิน  ใบ  ใบปุดมีปลายใบแคบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขนาดใบกว้าง 9-15 ซม.ยาว 50-70 ซม.  ก้านใบและโคนก้านใบ  จะแผ่ออกเป็น กาบหุ้มลำต้น สูง 1.5-3 เมตร ใบปุดจะคล้ายใบกาหลา  ต่างตรงใบกาหลาจะมีสีเขียวเข้มกว่า  เหง้าปุดแทงรากออกไปไกล  จึงขึ้นกระจายห่างๆกัน   ไม่รวมกลุ่มเป็นกลุ่มเป็นกอ ดอกปุด มีลักษณะเป็นช่อสั้นๆโผล่ขึ้นจากเหง้าใต้ดิน อยู่ห่างจากลำต้นเป็นรูปกรวยหงาย สีแดงสด ขอบกลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีหลายกลีบแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละต้น ผลปุดจะอยู่ใต้ดิน หรือโผล่มาเล็กน้อย  เปลือกผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน แยกเป็น 2-3 พู
ประโยชน์ด้านอาหาร ต้นปุดอ่อน ปอกกาบนอกออก เอาแต่ไส้ใน สามารถนำมาเป็น ผักสด หรือผักต้มจิ้มน้ำพริก เหง้า หน่ออ่อนและไส้ของปุด มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ใช้ในการปรุงรสอาหารเพื่อ ดับกลิ่นคาวเป็นเครื่องเทศใส่ในแกงชนิดต่าง ๆ
สรรพคุณทางยา

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้ปิดแผล ห้ามเลือด
  • เหง้า ตำให้แหลก ใช้ปิดแผลสด และ แผลไฟไหม้
  • ช่วยขับลม และช่วยให้เจริญอาหาร

เพาะขยายพันธุ์ การแยกหน่อ

Etlingera littoralis Gieseke 01.jpg Etlingera littoralis Gieseke 02.jpg Etlingera littoralis Gieseke 03.jpg Etlingera littoralis Gieseke 04.jpg