ผักหวานบ้าน

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Sauropus androgynnus Merr.jpg

วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauropus androgynus (L.) Merr.
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักหวานใต้ใบ (สตูล) มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์) ก้านตง ใต้ใบใหญ่ จ๊าผักหวาน ผักหลน (เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายลูก มะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก ผักหวานบ้านมักพบในป่าธรรมชาติ เช่น ป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าแดง และตามบริเวณ ทุ่งนา ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกไว้ข้างบ้าน
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ลูกอ่อนของผักหวานบ้านรับประทานเป็นผักได้ยอดยอดอ่อนตลอดทั้งปี แต่ผลิมากในฤดูฝน ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาต้ม ลวก นึ่ง ผัดน้ำมัน ให้สุกและรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกรสจัด หรืออาจนำผักหวานบ้านมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงกับหมู แกงกับปลา แกงเลียงของชาวบ้านภาคกลาง และแกงอ่อมของชาวอีสาน เป็นต้น
สรรพคุณทางยา

  • ราก ระงับความร้อนถอนพิษไข้ซ้ำไข้กลับเนื่องจากการรับรับประทานของแสลง หมอพื้นบ้านภาคกลางใช้ฝนทาแก้โรคคางทูม และหมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้รากผักหวานบ้านแก่นในของฝักข้าวโพด รากมะแว้ง และรากผักดีด ฝนกับน้ำอย่างละเท่า ๆ กันให้เด็กหรือผู้ใหญ่รับประทานแก้ไข้ ไข้หัด ไข้อีสุกอีใส
  • ผักหวานบ้าน รสหวาน เย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย

เพาะขยายพันธุ์ การปักชำหรือเมล็ด

Sauropus androgynnus Merr 01.jpg EUPHORBIACEAE2.2.jpg EUPHORBIACEAE3.3.jpg EUPHORBIACEAE4.4.jpg