มะกล่ำต้น
วงศ์ LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina L.
ชื่อสามัญ Red Wood, Coral Woood, Bead tree
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะกล่ำตาช้าง มะหัวแดง มะโหกแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม มักจะเกินครึ่งความสูงของลำต้น ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมัน เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา หรือน้ำตาลอ่อน อาจมีรอยแตกระแหงเล็กๆ บ้าง ใบประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนง ดอกเล็กสีขาวนวล ถึงเหลืองอ่อน ออกบนช่อยาวเรียงติดกันแน่นคล้ายหางกระรอก ผลเป็นฝักแบนยาวเมื่อแก่ฝักจะบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ แตกเมื่อแห้ง มีเมล็ดสีแดง รูปโล่ ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบทั่วไป เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำที่โตเร็วชนิดหนึ่งของป่าดิบแล้ง ป่าดิบขึ้นและป่าชายหาด มักพบขึ้นทั่วๆ ไป ตามที่รกร้างสองฟากทางหลวงทั่วประเทศ โดยเฉพาะบนพื้นที่ที่เป็นเขาหินปูน ออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่ มิถุนายน – กรกฎาคม
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ร่วมปับอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือลวกจิ้มน้ำพริก แกงเลียง ลวกกะทิ
สรรพคุณทางยา
- ราก รสเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ทางเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
- ใบ ต้มรับประทานแก้ปวดข้อกระดูก แก้ท้องร่วงและบิด
- เมล็ด บดเป็นผงดับพิษ รักษาแผลที่เกิดจากหนองและฝี
- ใบและเมล็ด แก้ริดสีดวงทวารหนัก เปลือกและเนื้อไม้ให้น้ำฝาดย้อมผ้าสีแดง